20 มิถุนายน 2556

เมื่อตลาด 'บรรณาธิการ' ขาดแคลน

เป็นบทความตั้งแต่ช่วงใกล้ๆ ปลายปี พ.ศ. ๒๕๕๔ ซึ่งน่าสนใจและน่าเฝ้ามอง
จึงใคร่อยากนำเอามาแบ่งปันลงในบล็อกน้อยๆ นี้ เพื่อเป็นส่วนหนึ่งที่อยากมีส่วนร่วมบ้าง

เมื่อตลาด 'บรรณาธิการ' ขาดแคลน
โดย : ปริญญา ชาวสมุน




ใครจะเชื่อ --- หากบอกว่า "บรรณาธิการกำลังขาดแคลน"
ทั้งที่เราๆ ท่านๆ ก็ยังเห็นตำแหน่งนี้เด่นหราท้ายชื่อคนมากมายบนหน้ากระดาษ

'500' คือ จำนวนบรรณาธิการที่วงการหนังสือประเทศไทยต้องการตลอด 5 ปีที่ผ่านมา
'10 กว่าๆ' คือ จำนวนบรรณาธิการที่วิชาบรรณาธิการผลิตออกมาได้
แต่ที่น่าตกใจ คือ 10 กว่าคนนั้น เป็นบรรณาธิการจริงๆ ได้เพียงไม่กี่คน!

หลายคนอาจสงสัย ไม่เข้าใจว่าทำไมตัวเลขเหล่านี้จึงน้อยเสียเหลือเกิน
ทั้งๆ ที่เกือบทุกมหาวิทยาลัยมีสาขาวิชาอันเกี่ยวข้องกับ 'หนังสือ'
ไม่ว่าจะเป็นวารสารศาสตร์ หรือนิเทศศาสตร์ ถ้าหากพิจารณาอย่างถ่องแท้แล้ว
วิชาชีพบรรณาธิการมิได้เปิดสอนกันแพร่หลาย หนำซ้ำยังมีเพียงไม่กี่แห่งที่ยอมเปิดสอน

หากไม่นับรวมสาขาวิชาดังกล่าว เห็นจะมีเพียงจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและมหาวิทยาลัยบูรพาเท่านั้น
ที่มีหลักสูตรบรรณาธิการโดยตรง สำหรับจุฬาลงกรณ์ฯ ขณะนี้ยังเป็นเพียงวิชาโท ในคณะอักษรศาสตร์
แต่สำหรับ ม.บูรพา ก็เป็นวิชาเอกในคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ถึง 6 ปีแล้ว
แต่มีนักศึกษารวมกันไม่กี่สิบคน

จากการสำรวจเมื่อปี 2548 โดยสมาคมผู้จัดพิมพ์และจำหน่ายหนังสือแห่งประเทศไทย
พบว่าในอีก 5 ปีข้างหน้า สำนักพิมพ์ทั่วประเทศไทยจะต้องการบรรณาธิการถึง 500 ตำแหน่ง
ทว่าจากปีนั้นจนบัดนี้ หลักสูตรบรรณาธิการทั้งวิชาเอกและโท
มีคนจบการศึกษาไปได้เพียง 10 กว่าคนเท่านั้น
แต่สาขาวิชาต่างๆ ที่สอนเกี่ยวกับการผลิตสิ่งพิมพ์ไม่ว่าจะเป็นหนังสือพิมพ์ หรือนิตยสาร
ก็มีวิชาว่าด้วยบรรณาธิการประกอบอยู่ด้วยทั้งสิ้น ทว่าจะมุ่งเน้นไปในทางสื่อเหล่านั้นเสียมากกว่า

รองศาสตราจารย์ ธัญญา สังขพันธานนท์ หรือที่รู้จักกันดีในนาม ไพฑูรย์ ธัญญา
นักเขียนรางวัลซีไรต์ปี 2530 ซึ่งขณะนี้เป็นอาจารย์ประจำภาควิชาภาษาไทย
คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
บอกว่า ในสาขาวารสารศาสตร์ หรือนิเทศศาสตร์ ก็มีวิชาเกี่ยวกับการบรรณาธิกรอยู่แล้ว 1-2 วิชา
อาจเป็นแบบรวบรัด ซึ่งไม่เหมือนวิชาเอกโดยตรง แต่เขาก็มองว่าน่าจะเพียงพอ

สำหรับผู้บุกเบิกและช่ำชองวิชาบรรณาธิการอย่าง มกุฏ อรฤดี มองว่า
มีหลายสิ่งที่แยกวิชาบรรณาธิการออกจากสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องเหล่านั้นได้
คือ หลักสูตร วิธีคิด และวิธีทำงาน
"วารสารกับหนังสือ เรียนต่างกัน วิธีคิดก็ต่างกัน วิธีทำงานก็ไม่เหมือนกันด้วย
เมื่อไม่เหมือนกัน ก็ทำงานลำบาก ต้องปรับตัว เช่น 

เรียนนิตยสาร หรือหนังสือพิมพ์ ความคิดหลักต่างกัน
พอต่าง จะให้เขาปรับความรู้สึกภายในก็ลำบาก เช่น นิตยสารก็จะคิดถึงความสวยงามก่อน เป็นต้น"


ดังนั้นการสอนวิชาชีพบรรณาธิการจริงๆ จึงไม่ได้มีทุกที่ แต่ในทางกลับกัน
คนที่เรียนบรรณาธิการก็อาจไม่รู้เรื่องการผลิตหนังสือพิมพ์ วารสาร หรือสาขาวิชาต่างๆ อย่างถ่องแท้เช่นกัน

หากย้อนเวลากลับไปประมาณ 50 ปีก่อน ในยุคที่หนังสือเริ่มเฟื่องฟู
ตั้งแต่ยุคนั้น คนทำหนังสือส่วนมากจะมาจากสาขาวิชาอื่น
เช่น นิติศาสตร์ วารสารศาสตร์ สื่อสารมวลชน มนุษยศาสตร์ ฯลฯ
ซึ่งทุกคนต่างมีความรู้ในแขนงของตน
แต่ด้วยความชอบพอหนังสือ จึงก้าวเข้ามาทำหนังสือ
ปัญหาที่เกิดขึ้น คือ หนังสือที่ได้ ขาดความเป็นหนังสือ --- กระทั่งทุกวันนี้

"เขามาทำหนังสือด้วยความรู้อย่างหนึ่ง มาทำด้วยความรักอย่างหนึ่ง
มาทำในเรื่องความคิดอีกอย่างหนึ่ง
เพราะฉะนั้น มันไม่มีตัวของตัวเองเลย ไม่มีอะไรที่เป็นหนังสือเลย เขาถึงต้องมาเรียนรู้ใหม่
บางคนทำหนังสือมาหลายสิบปีแล้วยังไม่รู้เลยว่าหมึกพิมพ์อันตราย มีสารก่อมะเร็ง
เขายังไม่รู้เลยว่าขอบหนังสือที่เว้นไว้ข้างๆ เว้นไว้เพื่ออะไร" มกุฏกล่าว

นี่คือผลลัพธ์จากการลองผิดลองถูก หากผิดพลาดผลกระทบสู่วงกว้างจะมากมายเหลือคณานับ
ชิ่งแรกคือ 'คนอ่าน' อาจต้องรับสารพิษสู่ร่างกายอย่างปฏิเสธไม่ได้
ชิ่งต่อไป คือ 'สังคม' ที่พยายามบอกกันว่า 'สังคมอุดมปัญญา' แล้วทั้งหมดก็พากันลงหลุม---

"เมื่อเขาไม่ได้เรียนมา ก็จะทำผิดๆ บางครั้งที่ทำผิดไป แต่บังเอิญคนทำหนังสือเล่มนั้นมีชื่อเสียง
หรือสำนักพิมพ์มีชื่อเสียง ความผิดนั้นก็กลายเป็นความผิดที่คนอื่นเอาอย่าง
มาตรฐานหนังสือของเราจึงด้อยกว่าชาติอื่นๆ ที่เรียนมาด้านนี้
เป็นที่ขบขันมากว่าทำไมหนังสือในประเทศเราพิมพ์สีดำเต็มไปหมดเลย
เลขหน้าก็เอาไปไว้ที่อื่น นี่ยังไม่รวมกรณีอื่นๆ ที่แปลกประหลาดพิดาร
ถ้าเราเรียนรู้ เราก็จะทำหนังสืออย่างถูกต้อง
นอกจากคนอ่านได้ประโยชน์ทางเนื้อหาก็จะได้ประโยชน์จากรูปแบบด้วย
ตาไม่เสียไว มะเร็งก็ไม่กินปอด ไม่เจ็บป่วยเนื่องจากใช้กระดาษผิดประเภท
ถ้าเราเรียน ทันทีที่จบมา ก็จะทำหนังสือได้ถูกต้องในกรอบของมันเลย
เรื่องการสร้างสรรค์มันมาทีหลัง หรืออาจมาพร้อมๆ กัน อย่างน้อยที่สุดก็มีความรู้พื้นฐาน
มีข้อห้ามอะไรบ้างในการทำหนังสือ มีข้อบังคับอะไรบ้างที่ควรทำ"

อย่างไรก็ตาม ก็ยังมีคนหลายกลุ่มเชื่อว่าตัวเลขบรรณาธิการที่ประเทศไทยต้องการ
ซึ่งกำลังว่างโหว่นั้นถูกเติมให้เต็มแล้วด้วยบรรณาธิการมากหน้าหลายตา
ที่เราเห็นกันดาษดื่นตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน คงปฏิเสธอีกไม่ได้เช่นกันว่า
มีบรรณาธิการหลายคนสั่งสมประสบการณ์กระทั่งเป็นบรรณาธิการจริงๆ ได้
 -- แต่ไม่ใช่ทุกคน


ธัญญาอธิบายว่า เขาเชื่อว่าวิชาบรรณาธิการเรียนกันได้
และคนเรียนก็จะมีหลักยึดดีกว่าคนไม่ได้เรียน แต่สิ่งที่เขาเชื่อยิ่งกว่า
คือ 'ประสบการณ์' จะสร้างให้เป็นบรรณาธิการที่ดีได้

"คนที่จบปริญญาตรีสี่ปี มันไม่มีประสบการณ์มากพอที่จะมาเป็นบรรณาธิการเลย
และผมก็คิดว่าตลาดคงไม่รับบรรณาธิการในเอกนี้โดยตรงทันที คนที่จะเป็นบรรณาธิการได้
ต้องเขียนหนังสือได้ด้วย ต้องผ่านงานพวกนี้มา มันต้องทำงานมาหลายปี
ผมว่าประสบการณ์เป็นเรื่องสำคัญ ถ้าเราต้องการบรรณาธิการที่ดีต้องมีประสบการณ์
ส่วนหนึ่งก็ต้องมีหลักความรู้ แน่นอนว่าสอนน่ะได้หลักความรู้
แต่ประสบการณ์ล่ะ ไปฝึกงานเทอมเดียวมันไม่พอ"


ด้าน มกุฏกล่าวว่า "มีบางคนพยายามบอกว่าสิ่งเหล่านี้เรียนรู้ได้ด้วยตัวเอง
แต่ถ้าเรียนรู้ด้วยตัวเอง หนึ่ง ใช้เวลานาน สอง ไม่มีตำราเหล่านี้หรอก
เพราะฝรั่งที่เขาทำหนังสือ ไม่จำเป็นต้องเรียน มันอยู่ในสายเลือดของเขา รู้เห็นโดยธรรมชาติ
เหมือนการกินข้าว ก็รู้ว่ากินข้าว ไม่ต้องมาวิเคราะห์เลยว่ากินกี่นาที กี่คำ"

แต่เขาก็ไม่ได้ตัดสินว่าคนที่ไม่ได้เรียนวิชาบรรณาธิการจะทำหนังสือดีไม่ได้
เพราะสิ่งที่คนทำหนังสือส่วนมาก ทั้งที่เรียนมาและไม่ได้เรียนมามีอยู่เต็มเปี่ยม
คือ 'ความปรารถนาดีและความรักหนังสือ'

"เราไม่ปฏิเสธนะว่าพวกเขาทำด้วยความปรารถนาดี คนพวกนี้ทำเพราะรักหนังสือทั้งนั้น
เหมือนกับที่ผมเข้ามาด้วยความรักหนังสือ แต่กว่าจะเรียนรู้ได้ มันใช้เวลาตั้ง 25 ปี
ถ้าเผื่อรู้ก็รู้ไป แต่ถ้าไม่รู้แล้วทำแบบผิดๆ คนอ่านก็ได้รับสิ่งผิดๆ
ก็อาจเป็นผลเสีย เสียหาย เป็นพิษภัยในบางเรื่อง อันตรายในบางสิ่ง ทั้งรูปแบบทั้งเนื้อหา"


บรรณาธิการที่ขาดแคลนในสายตาของ มกุฏ คือ คนที่เข้าใจ และรู้เรื่องบรรณาธิการจริงๆ
ซึ่งก็เป็นไปในทิศทางเดียวกันกับ ธัญญา ได้พูดถึง
ภาวะขาดแคลนบรรณาธิการซึ่งกระทบต่อวงการหนังสือบ้านเราเป็นวงกว้าง

"ผมคิดว่าบรรณาธิการหนังสือเล่มยังขาด ในแวดวงหนังสือยังมองว่าใครก็ได้ที่เขียนหนังสือได้บ้าง
และอ่านหนังสือมากก็เป็นบรรณาธิการได้ มันจึงมีปัญหาว่า
นักเขียนที่เขียนเรื่องสั้นหรือนวนิยายต้องการบรรณาธิการมากๆ เลย
จากประสบการณ์ของผมคือเนื่องจากมีประกวดวรรณกรรมเยอะมาก
บางรางวัลก็รับต้นฉบับสดๆ หมายถึงไม่ต้องเป็นหนังสือเล่มมาเลย อย่างเช่น
ที่เห็นในรางวัลซีไรต์ซึ่งผมไปเป็นกรรมการ ได้อ่านหนังสือทุกเล่ม
บางเรื่องถ้ามีบรรณาธิการดีๆ จะไปได้ดี นักเขียนบางทีก็ล้นไป ขาดไป
เพราะไม่มีบรรณาธิการ บางคนทำหนังสือเอง
เดี๋ยวนี้นักเขียนทำหนังสือเองได้แบบ on demand ก็เป็นการตัดกระบวนการทำหนังสือ
บางคนให้เพื่อนฝูงเป็นให้ ยังไม่มีประสบการณ์หรือยังไม่แก่กล้าพอ
มันไม่เหมือนยุคสมัยผม ที่ยังไงก็ไม่มีวันได้ทำหนังสือเองหรอก ต้องผ่านสำนักพิมพ์
แน่นอนสำนักพิมพ์เขามีบรรณาธิการ จากประสบการณ์ผมเป็นบรรณาธิการคนอื่นได้
แต่ผมเป็นบรรณาธิการตัวเองไม่ได้ เพราะเรามองคนละแบบกัน
ตอนนี้เรามีปัญหาอย่างหนึ่งทำให้วรรณกรรมบ้านเราไม่ดี 

คือบ้านเราขาดบรรณาธิการหนังสือเล่มที่มีฝีมือ"

ทั้งที่สำนักพิมพ์ก็ต้องการบรรณาธิการมากมาย และมีหลักสูตรเปิดสอนกันเป็นเรื่องเป็นราว
แต่ทำไมคนถึงไม่ไปเรียน? นี่อาจเป็นคำถามซึ่งยากแก่การหาคำตอบ
เพราะเมื่อใช้เหตุและผลเพื่อหาคำตอบ ก็ไม่น่าจะเป็นไปได้ที่คนอยากทำหนังสือแล้วไม่ไปเรียน

หรือเพราะวิชาว่าด้วยการทำหนังสือยากเกินไป---

บรรณาธิการใหญ่แห่งสำนักพิมพ์ผีเสื้อพูดถึงสาเหตุของกรณีนี้ว่า แท้จริงวิชาบรรณาธิการไม่ได้ยาก
แต่ไม่เคยมีใครสอน เมื่อไม่มีใครสอนก็จะกลับไปสู่วังวนเดิมที่ได้กล่าวไปข้างต้น
คือ คนทำหนังสือก็จะทำผิดๆ ถูกๆ โดยเขาเปรียบเปรยว่าวิชาบรรณาธิการก็ไม่ต่างจากชาวประมง

"ชาวประมงต้องมีความรู้ในการจับปลา เขาอาจเรียนรู้มาจากพ่อแม่ จากบรรพบุรุษ หรือจากตัวเอง
แต่อย่างน้อยที่สุดเขาเรียนมา เขารู้ว่าควรไปจับตรงไหน ควรเดินเรืออย่างไร
สังเกตท้องฟ้าอย่างไร สังเกตน้ำอย่างไร ท้ายที่สุดเขาก็จับปลาได้ แต่ถ้าเราอยากจับปลา
แต่ไม่เคยรู้เลย ไม่มีใครสอนเรื่องจับปลา เราก็ไปซื้อเรือมา แล้วลงไปจับปลา
เราอาจใช้เวลามากกว่าเขาเพื่อจะได้เท่าเขา หรืออาจจะไม่ได้เลย
เท่ากับว่า คนที่ไม่รู้เรื่องจะสูญเสียมากกว่าจะได้ แทนที่จะได้ปลา ก็สิ้นเปลืองน้ำมัน
อาจเจอพายุ เรือล่มตาย หรืออาจจับปลาที่มีพิษมาขาย คนกินเข้าไปก็ตาย"

อาชีพทำหนังสือก็ไม่ได้แตกต่างจากอาชีพอื่น แต่พิเศษกว่าตรงที่ ไม่ว่าจะสาขาวิชาใด
ด้วยหลักสูตรที่เป็นวิชาการ หนีไม่พ้นจะต้องใช้หนังสือทั้งสิ้น
คนที่ทำหนังสือนั้นก็คือบรรณาธิการ แต่ปัญหาจะเกิดขึ้นเมื่อคนที่ทำหนังสือไม่รู้เรื่องหนังสือเลย
ตั้งแต่พื้นฐานไปจนถึงรายละเอียด แน่นอนว่าย่อมผิดพลาด และไม่น่าเชื่อถือ สิ่งที่เด็กเรียนรู้ก็ย่อมผิดตาม

"บรรณาธิการที่ดีต้องมีสำนึกรับผิดชอบถึงคนอ่าน 
เขาได้อะไร มีประโยชน์ไหม แล้วเรื่องอื่นค่อยตามมา
เมื่อมีความสำนึกรับผิดชอบดีแล้ว รู้ว่าจำเป็นต้องผลิตหนังสือแล้ว เช่น
ได้ต้นฉบับนิยายโรมานซ์มาเรื่องหนึ่ง บรรณาธิการที่ดีต้องถามว่า
ถ้าเราพิมพ์หนังสือเล่มนี้ คนอ่านจะได้อะไร 

สมมติว่าพยายามตอบแล้วว่าคนอ่านได้อะไรก็ว่าไป
ต้องตั้งคำถามต่อตัวเองว่ามันจำเป็นต้องพิมพ์ไหม
บรรณาธิการที่ดีต้องตั้งคำถามครั้งแล้วครั้งเล่าถึงคนอ่าน 

และผลที่เกิดขึ้นต่อสังคม" มกุฏกล่าว

ในประเทศจีนมีมหาวิทยาลัยถึง 48 แห่งที่เปิดสอนเรื่องทำหนังสือ ตั้งแต่ปริญญาตรีจนถึงเอก
ในฝรั่งเศส เยอรมนี ก็เปิดสอนเป็นเรื่องเป็นราว เพราะรัฐบาลประเทศเหล่านั้นมองว่าจำเป็นมาก
เพราะเมื่อก่อนเขาก็ทำหนังสือไปเรื่อยเปื่อย แต่เมื่อศึกษาต่อมาๆ ก็พบว่า
คนที่ทำหนังสือเพื่อการค้า ก็จะนึกถึงแต่เรื่องการค้า ถ้าข้อมูลผิดไปสักหน่อยก็ละเลย
แทนที่จะเก็บหรือแก้ก็ปล่อยไป เพราะการเก็บหนังสือทำลายต้องเสียเงินเป็นแสน
ยิ่งถ้าผิดในหนังสือวิชาการ หนังสือความรู้ ผลกระทบย่อมทวีคูณ หรือแม้แต่เขียนแผนที่ผิด
อาจจะทำให้คนอ่านตายได้ เขาอาจตกเหว นี่น่าจะเป็นเรื่องที่ควรเรียนควรสอนทั้งสิ้น

ไหนๆ ประเทศไทยก็จะได้เป็นเมืองหนังสือโลกในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า
การผลิตคนทำหนังสือดีๆ ให้เหมือนกับประเทศที่มีวัฒนธรรมการอ่านหนังสือเป็นเลิศอย่างจีน ฝรั่งเศส
หรือเยอรมนีก็เป็นเรื่องที่ผู้หลักผู้ใหญ่ควรเหลียวมองสักนิด
แรกเริ่มอาจกระตุ้นให้เปิดสอนมากขึ้นในทุกภูมิภาค  ยิ่งเริ่มต้นได้เร็วเท่าไร
ประเทศไทยก็จะมีระบบหนังสือดีเร็วขึ้นเท่านั้น สักวันเราอาจมีหนังสือดี มีคนอ่านหนังสือเพิ่มขึ้น
มีวัฒนธรรมการอ่านที่แท้จริง และมีคนทำหนังสือดีเพิ่มขึ้น

แต่เมื่อต้องพึ่งรัฐบาลให้เป็นหัวเรี่ยวหัวแรง คงมีเสียงบ่นเกรียว และสบประมาทว่าคงเป็นไปไม่ได้
หากจะเปรียบเทียบกับเมื่อก่อนครั้งที่หมอในประเทศไทยยังมีน้อย ไม่เพียงพอต่อการรักษาคนป่วย
วันหนึ่งคนป่วยก็ออกมาร้องเรียนว่าหมอขาดแคลน รัฐบาลมองเห็นว่าเป็นจริงและจำเป็น
ทุกวันนี้แทบทุกมหาวิทยาลัยเปิดสอนแพทยศาสตร์ ผลิตหมอปีหนึ่งๆ ได้มหาศาล

คนในวงการหนังสือก็คล้ายคนป่วย ต้องออกมาร้องเรียน เพราะตอนนี้ 'บรรณาธิการกำลังขาดแคลน!'

อ้างอิงจาก : Life Style : Read & Write / bangkokbiznews.com

.

2 มิถุนายน 2556

ตอบอีเมล...เรื่องพิสูจน์อักษร

ว่างเว้นจากการเขียนบล็อกไปนาน...ให้รู้สึกละอายแก่ใจตัวเองยิ่งนัก
เมษายน - พฤษภาคม...ว่างเปล่า ปล่อยร้าง ห่างหาย และไร้คำสารภาพใดๆ!!!
ด้วยตั้งแต่ต้นเดือนมีนาคมที่ผ่านมาโน่น ผมมีงานส่งเข้ามาให้ทำตลอด
แทบไม่มีเวลาได้ผ่อนพักใดๆ ชีวิตหมกจมอยู่กับการทำงาน ทำงาน ทำงาน และทำงาน
ไม่ใช่ว่าไม่อยากเข้าาอัพเดทบล็อก Open Life นี้นะ ทว่ามันไม่มีพลังจะกลั่นกรองคำออกมา
สภาพร่างกายแสนเหนื่อยล้า สภาพจิตใจก็อ่อนเปลี้ย แถมสภาพอารมณ์ยังตีบตันมึนตึ้บ

๑ สัปดาห์หนึ่งมี ๗ วัน...ผมก็ทำงานทั้งเจ็ดวันมาตลอด ๓ เดือนเต็มๆ
เพราะมีงานหนังสือส่งมาให้ทำ ๓-๔ ที่ 
บางที่ก็เร่ง บางที่ก็เร่งปานกลาง 
แต่ส่วนใหญ่มักจะเร่งด่วน!!!
และแล้วก็พานพบสัจธรรม 
ยามรับงานที่ผู้จ้างต้องการด่วนพิเศษเมื่อใด 
เมื่อนั้นแหละสวรรค์เบี่ยงโลกเบี้ยว
ผมแทบจะกินๆ นอนๆ อยู่หน้าโน้ตบุ๊กเลย
ก็แหม...เขาส่งงานมาแล้วขอสามสี่วันเสร็จ 
ขณะงานอาจมีราวๆ ๒๐๐-๓๐๐ กว่าหน้า 
คละเคล้ากันไป (คิดจากที่จัดหน้าแล้ว)

ได้เวลากักขังตัวเอง เตรียมสมาธิ พลัง และข้าวปลาอาหาร
เพราะเมื่อตกปากรับคำรับงานเสร็จสรรพ ความรับผิดชอบต่องานนั้นๆ ก็ต้องมี...
ต้องทำให้ทัน... หรือพูดง่ายๆ ห้วนๆ คือ "งานต้องเสร็จ" นั่นเอง

ผมก็บ่องตง...บอกตรงๆ ว่า ตอนนี้มีผู้ว่าจ้างที่ส่งงานให้ทำสม่ำเสมออยู่ ๔ บริษัท
เป็นหนังสือพ็อกเก็ตบุ๊คสักสาม และนิตยสารรายเดือนหนึ่ง
ขณะที่ก็มีขาจร หรือสำนักพิมพ์บางแห่งติดต่อมาเพื่อจะส่งงานให้ ซึ่งผมก็ต้องปฏิเสธอย่างสุภาพไป
เพราะงานที่ล้น ไหนจะงานที่ค้างคาราคาซัง อ้าว...ยังมีงานที่เวียนกลับมาอีกรอบ
นี่ถ้าแยกร่างได้คงแยกร่างไปแล้ว กระนั้นในความเป็นจริงมันไม่ใช่....

ช่วง ๓ เดือนที่ห่างหายจากบล็อกนี้ไป เพราะต้องทำงานหนังสือแหละครับ
แต่ ณ ตอนนี้...อยากขออนุญาตนำอีเมลที่ส่งมาหาผมซึ่งได้อ่านบล็อกนี้มาตอบกันดีกว่า
เพราะในบล็อก Open Life ผมเจตนาปิดไม่ให้แสดงความคิดเห็น หรือคอมเม้นต์ใดๆ ได้

เริ่มจาก...ผู้ชายท่านหนึ่งที่เมลมา (ขออภัยรีไรท์ภาษาบ้างนิดๆ)

****
สวัสดีครับ คุณ (ผมไม่ทราบชื่อT_T) เหตุเพราะบังเอิญได้ไปเจอบทความของท่านใน openlife26.blogspot.com ตัวผมเองที่มีความสนใจในการทำงานด้านพิสูจน์อักษรอยู่แล้ว 
จึงได้เข้าไปอ่าน กะจะอ่านแค่ผ่านๆ ตา แต่เอาไปเอามา สนุกแฮะ ^^ 
อันดับแรกต้องขอบอกก่อนเลยว่าท่านเขียนและเรียบเรียงได้สนุก น่าสนใจมากครับ 
สามารถเป็นนักเขียนออกหนังสือเองได้สบายๆ เลย 
....ผมมีความสนใจในการทำงานสำนักพิมพ์จึงใคร่ขอรบกวนขอความกรุณา 
ขอคำปรึกษาเรื่องจิปาถะเกี่ยวกับงานด้านนี้สักหน่อยจะเป็นไปได้ไหมครับ 
อาจจะผ่านทางช่องทางอีเมล์ หรือเฟซบุ๊คก็ได้ครับ ขอบคุณครับ ^^ 

ตอบ : ขอตอบรวมๆ ละกันนะ ว่า...ขอบคุณและขอบใจมากครับสำหรับคำชม
ผมไม่ใช่นักเขียนหรอก แค่คนทำงานหนังสือเบื้องหลังผู้ต่ำต้อยที่รักอิสระและความเป็นธรรม ><
และที่ผมทำบล็อกนี้ขึ้นมานั้นก็หมายบันทึกความคิดเห็น หรือความรู้สึกส่วนตัวที่แบ่งปันกันได้
ส่วนที่อยากปรึกษาก็ลองไล่เป็นหัวข้อๆ มาก็ได้นะ ถ้าผมตอบหรือให้ข้อมูลได้ ผมจะนำมาลงในบล็อกนี้
ด้วยคิดว่า...เผื่ออาจเป็นประโยชน์กับท่านอื่นๆ ได้บ้าง เรามาร่วมแบ่งปันควารู้และประสบการณ์กันดีกว่า

****
มาถึงเมลจากน้องสาวผู้หนึ่งบ้าง

ก่อนอื่นต้องบอกว่ายังเป็นนักเรียนอยู่ค่ะ และชอบอ่านหนังสือ
ตอนนี้อยากรู้ว่าถ้าจะลองพิสูจน์อักษรบ้างต้องทำแบบไหน 
มีที่ไหนที่เปิดรับเด็กมัธยมปลายบ้างคะ 

ขอบคุณสำหรับบล็อกดีๆ และคำแนะนำค่ะ
เด็กมัธยม

ตอบ :  ผมให้ดีใจล้นทวีที่เด็กๆ สมัยนี้ยังสนใจการอ่านหนังสือมากกว่าบ้าคลั่งเทคโนโลยี
ไม่หลงไปกับแสง สี เสียง หรือสังคมโซเชียล เน็ตเวิร์กต่างๆ นานาที่แสนยั่วเย้า
ต่อคำถามของน้อง...พี่อยากแนะนำว่าให้ตั้งใจเรียน และถ้ามีเวลาก็อ่านหนังสือมากๆ ครับ
ชอบแนวไหนก็อ่านไป แต่ถ้ารักที่จะอ่านหนังสือหลายๆ แนว หลายแขนง ก็ดียิ่งขึ้น
ยิ่งอ่านก็ยิ่งรู้ ยิ่งซึมซับ และได้เก็บคลังคำเข้าสู่ความจำ อ่านมากก็สะสมคำมาก
ทั้งได้ศึกษาสำนวนภาษา หรือกลวิธีของงานเขียนในแต่ละประเภทด้วย

เรื่องจะลองทำงานพิสูจน์อักษรนั้น ยังมีรายละเอียดที่ต้องหาประสบการณ์เพิ่มเติมอีกจ้า
ซึ่งน้องยังเรียนอยู่ระดับมัธยมปลายนั้น คงยังไม่มีที่ไหนว่าจ้างหรอกครับ
เพราะงานแบบนี้ไม่ใช่แค่เพียงอ่านเฉยๆ หาคำถูกผิดแล้วจบ
ผู้ปรู๊ฟก็ต้องด่ำดิ่ง ละเอียดลออ และเข้าใจร่วมไปกับเนื้อหางานในแต่ละเล่ม
ไหนจะสัญลักษณ์การตรวจปรู๊ฟที่ต้องใช้ ไหนจะต้องช่วยดูรูปแบบการจัดหน้า
จะต้องตัดคำเช่นไร วรรคตอนแบบไหน หรือทำยังไงให้หนังสือลงยก ฯลฯ
โอ้ย...ยังมีอีกสารพัดปัญหาและสารเพอารมณ์คนที่น้องต้องเผชิญ...

..........

คงเท่านี้ก่อนนะ กระผมต้องขอตัวไปทำงานต่อ...
ยังมีหนังสืออีก ๒ เล่มที่ต้องจัดการ เพราะเลทงานล่าช้ามานานแล้ว...
.

21 มีนาคม 2556

ลมหายใจ “คนพิสูจน์อักษร”

เมื่อสื่อสิ่งพิมพ์ถูกอนาคตไล่ล่า จากเทคโนโลยีการสื่อสารที่พัฒนาแบบก้าวกระโดด
จนทำให้การนำเสนอข่าวในยุคปัจจุบัน หันไปแข่งกันเรื่อง “ความเร็ว” มากกว่า “ความถูกต้อง”


โปรยเกริ่นๆ แบบชวนอ่านผสานอยากชวนคุยแบบเรื่อยเปื่อยสักนิด
ด้วยช่วงนี้ไม่ค่อยมีเวลามาอัพเดท Blog น้อยๆ แห่งนี้ เพราะต้องมุ่งมั่นทำงาน
โดยงานที่ทำนั้นก็คือ พิสูจน์อักษรอิสระ ให้กับที่ต่างๆ หลายๆ แห่ง
กล่าวได้ว่าต้องทำงานทุกวัน อ่านตรวจตัวอักษรทุกคืน ทั้งจากหน้าคอมพ์และหน้ากระดาษ
ขนาดวันเสาร์-อาทิตย์ยังต้องทำงานตลอด ทว่าก็มีความสุขใจเสมอยามได้อ่าน ได้ซึมซับ ได้ปรู๊ฟ
เอาละ ขอนำเข้าสู่เนื้อเรื่องที่อยากเอามาบอกเล่า บอกต่อ และเผยแพร่กันดีกว่า
เป็นบทความหนึ่งที่น่าสนใจเกี่ยวกับอาชีพ Proofreader ซึ่งนานๆ จะได้เห็นสักที

ลมหายใจ “คนพิสูจน์อักษร” ความสำคัญที่หายไปใน นสพ.ยุคใหม่?

สื่อดิจิตอล” ทั้งเว็บไซต์ เฟซบุ๊ค ทวิตเตอร์
รวมถึงบล็อก ที่เคลื่อนไหวด้วยหลักนาที-วินาที
จึงเริ่มเข้ามามีบทบาทแทนที่ “สื่อกระดาษ” อย่างหนังสือพิมพ์
ที่เคลื่อนที่ด้วยหลัก “วัน”

ความเปลี่ยนแปลงข้างต้น ทำให้ทุกองคาพยพในวิชาชีพสื่อ
ตั้งแต่นักข่าวภาคสนามไปจนถึงเจ้าของกิจการ ต้องปรับตัวกันขนานใหญ่
จนมีการข้ามสื่อกันอย่างอุตลุด จากหนังสือพิมพ์ ไปทำเว็บไซต์ไม่ก็โทรทัศน์
หรือจากทีวีก้าวสู่โลกโซเชียลมีเดีย
ข่าวๆ เดียวถูกนำไปเพิ่มมูลค่าด้วยการเสนอต่างแพลตฟอร์ม
ในยุคที่เรียกกันว่า “สื่อยุคหลอมรวม-convergence”

บุคลากรในวงจรสื่อหน่วยหนึ่งที่ได้รับผลกระทบหนักหน่วงไม่แพ้ใคร
นั่นคือ “พนักงานพิสูจน์อักษร” หรือที่เรียกกันติดปากว่า “ปรู๊ฟ (proof)
ที่ทำหน้าที่หลายคนมองว่า เป็น ผู้ปิดทองหลังพระ ของวงการหนังสือพิมพ์มาอย่างยาวนาน

โดยกลางปี 2555 ผู้บริหารสื่อเครือเนชั่น ได้ตัดสินใจพลิกหน้าที่ “ปรู๊ฟ” ของสื่อสิ่งพิมพ์ในเครือ
จากการคอยเช็คคำถูก-คำผิดบนหน้ากระดาษ ให้มาทำหน้าที่แบ็คอัพทีมงานข่าวโทรทัศน์และอินเตอร์เน็ต
เพื่อรองรับการขยายตัวของสื่อดิจิตอล

เนื่องจากทางผู้บริหารเห็นว่า กระบวนการผลิตหนังสือพิมพ์มีหลายหน้าที่ซึ่งซ้ำซ้อนกัน
โดยเฉพาะการพิสูจน์อักษร เพราะมองว่ามีการกลั่นกรองคำผิด
ตั้งแต่ชั้น 1.นักข่าว 2.รีไรท์เตอร์หรือหัวหน้าข่าว และ 3.ซับเอดิเตอร์ อยู่แล้ว

เมื่อ หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ ขยับมาทำสื่อทีวีคู่ไปกับสิ่งพิมพ์
จึงต้องใช้ทีมงานผลิต “คอนเทนต์” เพิ่มเป็นจำนวนมาก
ผู้บริหารเครือเนชั่นจึงตัดสินใจขยับ “พนักงานพิสูจน์อักษร” ในกองหนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ
ที่มีอยู่ราว 10 คน มาทำเบื้องหลัง “กรุงเทพธุรกิจทีวี” แทน เป็นการนำร่อง
ทิ้งให้เหลือ “ปรู๊ฟ” สำหรับหนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจไว้เพียง 1 คนเท่านั้น!
โดยให้ทำหน้าที่ตรวจสอบความถูกต้องของคำ เฉพาะหน้าหนึ่ง-หน้าสุดท้าย
และคอยชี้ขาดคำบางคำ เช่น คำราชาศัพท์
ส่วนเนื้อหาด้านใน เป็นหน้าที่ของ “นักข่าว-รีไรท์เตอร์-หัวหน้าข่าว” จะช่วยกันตรวจหาคำผิด
ขณะที่ “ซับเอดิเตอร์” จะต้องนำข่าวมาใส่ไว้ในโปรแกรม  Microsoft Word
ที่หากพบคำที่เขียนผิด จะขึ้นเป็นเส้นหยักสีแดง และเมื่อแก้ไขให้ถูกต้อง ถึงจะนำไปสู่การจัดหน้า

แหล่งข่าวจากหนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ กล่าวว่า...
เหตุการณ์ที่เกิดขึ้น เป็นเพราะผู้บริหารเครือเนชั่นมองว่า
มีบุคคลหลายตำแหน่งที่ทำงานซ้ำซ้อนกัน ในโมเดลแบบใหม่จึงจะให้นักข่าวปรู๊ฟเอง 1 รอบ
รีไรท์ฯ หรือหัวหน้าข่าวปรู๊ฟอีก 1 รอบ และซับฯ ปรู๊ฟอีก 1 รอบปิดท้าย

“ผลกระทบการลดจำนวนพนักงานพิสูจน์อักษร ทำให้ในหนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจมีคำผิดมากขึ้น
โดยเฉพาะกรอบแรกที่ต้องส่งไปยังต่างจังหวัด เพราะต้องปิดให้ทันเวลา 1 ทุ่ม 

ส่วนกรอบสองที่ปิดก่อน 4 ทุ่ม จะพบคำผิดหรือคำตกบรรทัดน้อยลง 
เพราะได้ผ่านการตรวจสอบครั้งแต่กรอบแรกมากแล้ว” เขากล่าวถึงผลกระทบ

อย่างไรก็ตาม ผู้บริหารเครือเนชั่นมองว่า
โมเดลที่ใช้ในหนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ ค่อนข้างประสบความสำเร็จ
จึงเตรียมที่จะใช้โมเดลดังกล่าวไปปรับปรุงการทำงานใน “หนังสือพิมพ์คมชัดลึก
โดยจะให้ (ว่าที่) อดีตปรู๊ฟไปช่วยงานด้านอินเตอร์เน็ตแทน

***
หลังทราบความเปลี่ยนแปลงของสื่อสิ่งพิมพ์เครือเนชั่น ในเวลาต่อมา
เราก็เดินทางไปที่สำนักงานสื่อแห่งหนึ่งริมถนนวิภาวดี
เพื่อสอบถามว่า สื่อสิ่งพิมพ์ที่มีคนอ่านมากที่สุดในประเทศ ด้วยยอดจำหน่ายกว่าล้านฉบับ
อย่าง “หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ” ได้เตรียมรับมือกับโลกที่เปลี่ยนไปนี้อย่างไร?

ภิญโญ ทุมมานนท์ ฝ่ายประสานงานกองบรรณาธิการหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ
ผู้ควบคุมการพิสูจน์อักษรของหนังสือพิมพ์ที่มียอดพิมพ์ล้านฉบับทั้ง 6 กรอบ ซึ่งเริ่มต้นกล่าวว่า
ไทยรัฐให้ความสำคัญกับกองพิสูจน์อักษร เพราะเป็นงานที่ละเอียดอ่อน
ที่สำคัญ ยังมองว่าเป็นหน้าตาขององค์กร
เขาให้ภาพว่า ในกองพิสูจน์อักษรของหนังสือพิมพ์หัวเขียว
มีลมหายใจของ “นักพิสูจน์อักษร” ทั้งสิ้น 22 ชีวิต รวมกับหัวหน้ากองอีก 2 คน
โดยจะแบ่งการทำงานออกเป็น 3 กะ ซึ่งแต่ละกะคนจะไม่เท่ากัน ขึ้นอยู่กับช่วงเวลา
โดยเวลา 18.00 น. ถึงเวลา 01.00 น. จะเป็นช่วงเวลาที่งานของกองพิสูจน์อักษรมากที่สุด
ซึ่งจะมีคนตรวจปรู๊ฟยืนพื้น 12-13 คน ส่วนช่วงเวลาหลังจากนั้น
จะลดจำนวนคนลงเหลือเพียง 5-6 คน เอาไว้คอยเก็บงาน
“การตรวจปรู๊ฟของไทยรัฐไม่มีสิ้นสุด เพราะเรามีถึง 6 กรอบ ตั้งแต่ 1 ดาวถึง 6 ดาว
ซึ่งเนื้อหาจะเปลี่ยนไปตามแต่ละภูมิภาค ทำให้ปรู๊ฟต้องทำงานตลอดเวลา”


ภิญโญ ยังอธิบายว่า พนักงานพิสูจน์อักษรของหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ
จะต้องมีความรู้รอบด้าน และอ่านหนังสือให้มาก
เพราะเป็นนโยบายของผู้ใหญ่ เนื่องจากคำเฉพาะบางคำที่นักข่าวเขียนมาผิด เมื่อไม่รู้ว่าหมายถึงอะไร
บางครั้งก็ปล่อยให้ผ่านไปเลย จึงต้องสะสมองค์ความรู้ไว้กับตัวให้มาก เพราะบางคำแค่ขยับไปนิดเดียว
ความหมายก็จะเปลี่ยนไป หรือการเว้นวรรค-ไม่เว้นวรรค หลายครั้งก็มีความสำคัญ

“ที่สำคัญ เราจะฝึกให้ปรู๊ฟทุกคนจำหน้าแหล่งข่าว ว่าใครเป็นใครให้ได้ 
คนดังๆ ของโลกต้องรู้จัก รวมถึงยศ ตำแหน่ง สายงานราชการ จะต้องรู้ 
เพราะบางครั้งเด็กเรียงพิมพ์อาจรับต้นฉบับที่เขียนด้วยลายมือของคอลัมนิสต์
มาพิมพ์ลงคอมพิวเตอร์ แล้วอาจพิมพ์ชื่อหรือยศผิด หรือเรื่องตัวเลขก็มีความสำคัญ
ปรู๊ฟบางคนไม่มีความเข้าใจ ก็คิดว่าเขาใส่มาเท่านี้ ก็คือเท่านี้ ทั้งที่จริงๆ นักข่าวอาจจะเขียนผิด”


เขายังกล่าวถึงวิธีการฝึกเด็กใหม่ที่จะเข้ามาอยู่ในกองพิสูจน์อักษรของ “ไทยรัฐ” ว่า
ตามปกติจะต้องถูกฝึกอย่างน้อย 5 เดือน ถึงจะสามารถปล่อยให้ตรวจอักษรโดยลำพังได้
เพราะลักษณะงานเช่นนี้ ค่อนข้างละเอียดอ่อน
หากปล่อยให้มีคำผิดหลุดรอดไปบ่อยๆ อาจทำให้เกิดความเสียหายตามมา

ภิญโญยังกล่าวว่า...
ไม่เพียงเขียนผิด หรือใส่ชื่อ ยศ หรือตำแหน่งไม่ถูกต้องเท่านั้นที่สามารถทักท้วงได้
แม้กระทั่งพาดหัวไม่ตรงกับเนื้อหา หรือใส่รูปภาพไม่ตรงกับเนื้อหา 

คนที่มีหน้าที่พิสูจน์อักษรของไทยรัฐก็สามารถทักท้วงได้เช่นกัน

ทั้งนี้ ทุกกระบวนการของหนังสือพิมพ์ไทยรัฐจะต้องพิถีพิถัน เริ่มจาก
1. กระบวนการโต๊ะข่าวหน้าหนึ่ง ส่งต้นฉบับให้พนักงานเรียงพิมพ์เข้าหน้าตามดัมมี่ที่ฝ่ายศิลป์ออกแบบ
2. ปรู๊ฟตรวจจับคู่กัน อีกคนหนึ่งอ่าน อีกคนหนึ่งตรวจคำผิด ก่อนส่งต่อให้พนักงานเรียงพิมพ์จัดเข้าหน้าเต็ม
3. ปรู๊ฟตรวจหน้าใหญ่เป็นขั้นตอนสุดท้าย ก่อนส่งไปยิงฟิล์ม และเข้าสู่ขั้นตอนการจัดพิมพ์

นอกจากนี้ ข่าวทุกชิ้นที่ผ่านกองบรรณาธิการแล้ว
ยังต้องส่งสำเนาอีก 2 ชุดมายังกองพิสูจน์อักษร โดยชุดหนึ่งจะมาอยู่ที่โต๊ะของภิญโญ
อีกชุดไปอยู่ที่โต๊ะของ สราวุธ วัชรพล หัวหน้ากองบรรณาธิการหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ
เพื่อตรวจสอบดูความรอบคอบคู่ขนานไปด้วย
“คุณสราวุธเขาจะมอนิเตอร์ข่าวทุกวัน ถ้ามาดูแล้วเห็นว่า อ้าว! ไม่ใช่นะ ไม่ตรงกับที่รู้มา ก็จะให้แก้ไข
ท่านดูทุกหน้า อ่านเป็นปึกๆ อ่านผ่านๆ ตา เพราะมันเคยผิดบ่อยๆ จึงต้องระวังเยอะขึ้น”
ภิญโญเล่า

เขายังกล่าวว่า พนักงานพิสูจน์อักษรไม่ใช่ตำแหน่งปิดทองหลังพระ
ไม่ใช่คนสำคัญที่มาเกี่ยวข้องกับงานข่าว เหมือนนักข่าว
แต่ก็เป็นตำแหน่งที่มีความสำคัญเพราะทำให้งานหนังสือพิมพ์มีความสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น
“ยอมรับว่า สื่อสิ่งพิมพ์ถึงเวลาที่ต้องปรับตัวให้รับกับความเปลี่ยนแปลง 
แต่เนื่องจากหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ เป็นหนังสือพิมพ์สำหรับชาวบ้าน
การปรับตัวของที่นี่จึงอาจจะทำแบบค่อยๆ เป็น ค่อยๆ ไป 

และคงใช้เวลาอีกนานกว่าจะเปลี่ยนไปแบบที่เครือเนชั่นทำ” ภิญโญกล่าว

โลกของการสื่อสารผันเปลี่ยนไปตามเทคโนโลยี จากเดิมที่ใช้คน ม้า นกพิราบ ดินเหนียว หนังสัตว์
กระดาษปาปิรุส เยื่อไผ่ มาจนเป็นกระดาษ และกลายเป็นสัญญาณไฟฟ้า เช่นปัจจุบัน

และแม้กระบวนการพิสูจน์อักษร จะได้รับการพิสูจน์แล้วว่า
มีความสำคัญต่อการทำให้ “สาร” ที่ถูกส่งออกไป ไม่ “คลาดเคลื่อน” จากความเป็นจริง
แต่ท่ามกลางภาวะปัจจุบัน องค์กรหลายๆ แห่งอาจจะต้องหาวิธีปรับตัว
เพื่อรับมือกับความเปลี่ยนแปลงที่หลั่งไหลเข้ามาดั่งสึนามิ

พนักงานพิสูจน์อักษรอาจถูกมองได้ทั้งเป็นผู้ไร้ความสำคัญทำงานซ้ำซ้อนกับตำแหน่งอื่นๆ 
หรือเป็นผู้ทำให้หนังสือพิมพ์มีความสมบูรณ์มากขึ้น

ไม่มีใครรู้ว่า มุมมองแบบไหนถูกหรือผิด คงจะต้องปล่อยให้เวลาคลี่คลายคำเฉลยออกมาเอง...

-----
เขียนโดย ณัฐวุฒิ กรัณยโสภณ 
ตีพิมพ์ครั้งแรกใน "จุลสารราชดำเนิน" ฉบับที่ 25 ประจำเดือน ม.ค.-มี.ค. 2556

ที่มา : สำนักข่าวอิศรา



5 มีนาคม 2556

คนที่มีค่าที่สุดในชีวิต

ผ่านไปแล้วกับผลการเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
ก็ขอแสดงความยินดีกับผู้สมัครที่ได้รับความไว้วางใจและคะแนนเสียงให้ดูแลเมืองหลวง
หวังใจว่าอีก ๔ ปีนับจากนี้ไป...กรุงเทพฯ คงมีสุขภาพที่ดีขึ้น งามขึ้น และน่าอยู่มากขึ้น

Open Life บล็อกที่บรรเลงร่ายแบบเงอะงะ ขรุขระ สะเปะสะปะ และไร้ศิลปะ
คิดๆ อยู่ว่าจะอัพเดทเรื่องอะไรดี? เรื่องปลวกกัดกินหนังสือที่เคยเกริ่นๆ ก็อยากพักไว้ก่อน
เท่าๆ ที่สมองขี้เลื่อยน้อยๆ คิดออกก็อยากเขียนถึงเรื่อง "งานฟรีแลนซ์" เกี่ยวกับหนังสืออีก
ประมาณว่า...ถ้าอยากทำงานฟรีแลนซ์ เป็นฟรีแลนซ์แห่งการงานจริงๆ จะเริ่มต้นยังไง และหางานที่ใด
ไม่ใช่การทำงานผ่านเน็ตวันละสองสามชั่วโมง หรือประชาสัมพันธ์ทางออนไลน์
หรือเจ้าหน้าที่โปรโมทสื่อโฆษณา หรืองาน Online ส่งเมล หรือจะโอนเงินให้ทุกวันที่นั้นที่นี้
โอ้ย...สมอง ไฉนเมลแบบนี้ขยันส่งกันมาจริงๆ ส่งมาได้ทุกๆ วันซะด้วย (เห้ออออ)

วันนี้...ได้อ่านข้อความที่แชร์มาจาก facebook 
เรื่องหนึ่งที่ให้รู้สึกอบอุ่นในหัวใจ เอมอาบในอารมณ์
จำได้เลาๆ ว่าเคยอ่านผ่านๆ ตามาแล้ว เมื่ออ่านจบ--
ก็เป็นอีกหนึ่งเหตุผลที่ผมอยากทำงานฟรีแลนซ์อยู่กับห้อง 
หรืออยู่กับบ้าน แม้นผมจะยังไม่มีเมีย ไม่มีลูกก็ตาม ทว่ามีคนรัก
ทว่าก็เล็งเห็นและให้ความสำคัญกับสถานะความเป็นครอบครัว
หลายคนอาจอยู่นอกบ้านมากกว่าในบ้าน 
หรือทำงานหนักเหนื่อยจนไม่มีเวลาให้กับลูกๆ

มาอ่านเรื่องราวที่เกริ่นๆ กันเถอะ ซึ่งชื่อเรื่องคือ 20 เหรียญ กับคนที่มีค่าที่สุดในชีวิต
เพราะเท่าที่ลองค้นๆ ดูนั้น เรื่องสั้นๆ นี้น่าจะมาจากหนังสือ ความรักทรงกลม  

***

ชายหนุ่มคนหนึ่งเลิกงานและกลับเข้าบ้านช้า ด้วยความเหน็ดเหนื่อยอ่อนล้า
และพบว่าลูกชายวัย 5 ขวบรอคุณพ่ออยู่ที่หน้าประตู

ลูก "พ่อครับ ผมมีคำถามถามพ่อข้อหนึ่งน่ะ"
พ่อ "ว่ามาสิลูก, อะไรเหรอ"
ลูก "พ่อทำงานได้เงินชั่วโมงละเท่าไหร่"
"ไม่ใช่กงการอะไรของลูกนี่, ทำไมถามอย่างนี้ล่ะ" พ่อตอบด้วยความโมโห
"ผมอยากรู้จริงๆ โปรดบอกผมเถอะ พ่อทำงานได้เงินชั่วโมงละเท่าไหร่" ลูกพูดร้องขอ
พ่อ "ถ้าจำเป็นจะต้องรู้ละก็ พ่อได้ชั่วโมงละ 20 เหรียญ"
"โอ.." ลูกอุทานพลันคอตก แล้วพูดกับพ่ออีกครั้ง
ลูก "พ่อครับ ผมอยากขอยืมเงิน 10 เหรียญ"
พ่อกล่าวด้วยอารมณ์
พ่อ "นี่เป็นเหตุผลที่แกถาม เพื่อจะขอเงิน แล้วไปซื้อของเล่นโง่ๆ
หรืออะไรที่ไม่เข้าท่าหรอกเหรอ รีบขึ้นไปนอนเลยนะ แล้วลองคิดดูว่าแกน่ะ
เห็นแก่ตัวมาก พ่อทำงานหนักตั้งหลายๆ ชั่วโมงทุกวัน
และไม่มีเวลาสำหรับเรื่องเด็กๆ ไร้สาระอย่างนี้หรอก"

เด็กน้อยเงียบลง ก่อนจะเดินขึ้นไปที่ห้องนอนแล้วปิดประตู 
ชายหนุ่มนั่งลงและยังโกรธอยู่กับคำถามของลูกชาย 
ลูกกล้าที่จะถามคำถามนั้น เพื่อจะขอเงินได้อย่างไร
หลังจากนั้นเกือบชั่วโมงอารมณ์ชายหนุ่มก็เริ่มสงบลง 

และเริ่มคิดถึงสิ่งที่ทำลงไปกับลูกชายตัวน้อย 
บางทีลูกอาจจำเป็นต้องใช้เงิน 10 เหรียญนั้นจริงๆ
และลูกก็ไม่ได้ขอเงินเขาบ่อยนัก ชายหนุ่มจึงเดินขึ้นไปบนห้องนอนของลูกแล้วเปิดประตู


พ่อ "หลับหรือยังลูก"
ลูก "ยังครับ"
พ่อ "พ่อมาคิดดู เมื่อกี้พ่ออาจทำหรือพูดรุนแรงกับลูกเกินไป
นานแล้วนะที่พ่อไม่ได้คลุกคลีกับลูก เอ้า นี่เงิน 10 เหรียญที่ลูกขอ"
เด็กน้อยลุกขึ้นนั่งอย่างดีใจ
ลูก "ขอบคุณครับพ่อ"

ว่าแล้วลูกชายก็ล้วงลงไปใต้หมอนหยิบเงินจำนวนหนึ่งออกมา แล้วนับช้าๆ
ผู้เป็นพ่อเห็นดังนั้นก็โกรธขึ้นมาอีกครั้ง
พ่อ "ก็มีเงินแล้วนี่ แล้วมาขออีกทำไม"
ลูก "เพราะผมมีไม่พอครับ แต่ตอนนี้ผมมีครบแล้ว
พ่อครับ ตอนนี้ผมมีเงินครบ 20 เหรียญแล้ว ผมขอซื้อเวลาพ่อชั่วโมงหนึ่ง
….พรุ่งนี้พ่อกลับบ้านเร็วๆ นะครับ ผมอยากกินข้าวเย็นกับพ่อ…"

***

ชีวิตของคนเราเติบโตขึ้นมาด้วยการหล่อเลี้ยงของความอาทร และความเกื้อกูลซึ่งกันและกันมากมาย
เมื่อเราลืมตาดูโลก ก็เห็นรอยยิ้มต้อนรับอันอบอุ่นและละมุนใจของผู้เป็นพ่อแม่ของเรา
ความรักของท่านกลั่นจากหัวใจที่ขยายกว้างไม่มีที่สิ้นสุด
เหมือนดั่งทรงกลมที่ขยายจากศูนย์กลาง กว้างออกไปได้เรื่อยๆ จึงให้ได้อย่างไร้ขีดจำกัด
ให้อย่างไร้ข้อแม้ ให้อย่างไร้เงื่อนไข และให้อย่างไร้กาลเวลา
ความรักของพ่อแม่จึงเป็นรักแท้ที่บริสุทธิ์ ใส สะอาด โดยไม่หวังสิ่งใดตอบแทน
ส่งใจส่งความรักถึงท่าน แล้วน้อมเคารพบูชาท่าน ด้วยการมอบสิ่งดีๆ ให้ท่านอย่างสุดหัวใจ
เพราะท่านเป็นดั่ง “พระในบ้าน” ของลูก

.

24 กุมภาพันธ์ 2556

กรุงเทพสุดฤทธิ์ ร่วมกับสุหฤท สร้างเซอร์ไพรส์

อย่างที่เกริ่นไว้ในบทก่อนว่า...ถ้าผมมีสิทธิ์เลือกตั้งผู้ว่าฯ กรุงเทพฯ ได้ ผมจะขอเลือก--
หมายเลข 17  สุหฤท สยามวาลา

เพราะนับเป็นอีกคนหนึ่งที่สร้างสีสันให้กับ
กรุงเทพมหานคร (กทม.) ไม่ใช่น้อย
เมื่อตัดสินใจออกมาประกาศอาสา
ขอรับใช้ประชาชนลงท้าชิงในตำแหน่ง
ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
สำหรับ โต้-สุหฤท สยามวาลา
และด้วยบุคลิกที่มีหลากหลายด้าน
จึงมีผู้นิยามให้กับ โต้-สุหฤทไปต่างๆ นานา
ไม่ว่าจะเป็น...วัยรุ่นที่มีอายุแก่ที่สุด 
ผู้บริหารเฟี้ยวเงาะ 
ดีเจอินดี้ตัวพ่อ 
หรือผู้ชายที่รักภรรยาที่สุดในจักรวาล
 

สโลแกน “กรุงเทพสุดฤทธิ์ ร่วมกับสุหฤท สร้างเซอร์ไพรส์” 

ปัจจุบัน โต้-สุหฤทดำรงตำแหน่งผู้บริหาร บริษัท ดี เอช เอ สยามวาลา จำกัด
ซึ่งเป็นธุรกิจของครอบครัว เป็นผู้บริหารรุ่นที่ 4 ของตระกูลสยามวาลา
มีผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับเครื่องเขียนที่มีชื่อเสียงและเป็นที่รู้จักไปทั่วประเทศ
อาทิเช่น แฟ้มตราช้าง, ปากกา Cross, ปากกา Quantum, สี Master Art 

ซึ่งเป็นบริษัทที่มีอายุยาวนานกว่า 100 ปี
      
ขณะเดียวกันชีวิตอีกด้านหนึ่งของ โต้-สุหฤท ก็เรียกว่าสุดฤทธิ์ คล้ายแคมเปญที่ออกมาจากเขา
เพราะเอาแค่สไตล์แต่งตัวก็เรียกความน่าสนใจได้อย่างมาก
นอกจากนั้น เขายังเป็นนักร้องนำแห่งวง ‘ครับ’ วงดนตรีอินดี้ที่ดังที่สุดเมื่อ 20 กว่าปีที่แล้ว
เขาคือดีเจขวัญใจเด็กแนวแห่งคลื่น Fat Radio
เขาคือพ่อมดอิเล็กทรอนิกส์ ผู้บุกเบิกแนวเพลง Electronica
จากเดิมที่ไม่มีคนรู้จักจนกลายเป็นเพลงที่ขาดไม่ได้ในยามค่ำคืน
และมีภาพลักษณ์ที่เป็นผู้บริหารที่มีความเป็นสมัยใหม่
   
สุหฤท สยามวาลา หมายเลขเบอร์ 17      
“เชื่อแบบเดิม เลือกแบบเดิม ได้กรุงเทพฯ แบบเดิม”

   
 **นโยบาย 12 ข้อของสุหฤท**
    
       1. ทุกชีวิตต้องปลอดภัยบนทางเท้า เพราะทางเท้าเป็นที่สาธารณะที่ขาดการดูแล
ซึ่งความปลอดภัยในที่นี้ไม่ได้หมายถึงพวกแผงลอย หาบเร่เพียงอย่างเดียว
ปัญหาเช่น ทางเท้าตะปุ่มตะป่ำ ป้ายที่รกเต็มเมืองไปหมด เรื่องแสงสว่างต่างๆ
นี่ก็คือภาพรวมของความปลอดภัย แต่ที่สร้างปัญหาให้คนกทม.มากที่สุดคงเป็นเรื่องหาบเร่ แผงลอย
จะมีวิธีจัดการ 2 แบบคือ การจัดการแบบเด็ดขาด หรืออีกวิธีคือใช้วิธีประนีประนอมค่อยพูดค่อยจากัน
แต่ว่าต้องยึดทุกอย่างภายใต้กรอบกฎหมาย แน่นอนว่าคงจะทำให้บางคนต้องเดือดร้อน
แต่คงไม่มีกติกาสังคมใดทำให้คนทุกคนชอบไปหมดได้ ซึ่งเราก็ต้องให้ทุกคนยึดถือกฎหมาย
ค่อยๆ เข้าไปแก้ไขทีละจุด ทั้งนี้ทั้งนั้นกลยุทธ์ของแต่ละที่จะใช้ไม่เหมือนกัน
เช่นแต่ละที่เราต้องรู้ว่าใครมีส่วนได้ส่วนเสียอยู่บ้าง ต้องค่อยๆ เข้าไปจัดการ
อย่างประเทศสิงคโปร์ใช้เวลาเป็น 10 ปีกว่าจะแก้ไขเรื่องนี้ได้
แต่ไม่ว่าอย่างไรเราก็ต้องเริ่มนับหนึ่งให้ได้ก่อน ฉะนั้นทางเท้าควรจะเป็นที่ให้เดินได้อย่างปลอดภัย
      
       2. เริ่มแก้ปัญหาจราจรจากศูนย์ ทำไมกองทัพมดถึงไม่เคยมีปัญหาจราจร
เราต้องกล้าที่จะ “ช่วยกันดูแลระเบียบจราจร” ก็คือ เราชอบที่จะพูดเรื่องอะไรที่มันใหญ่โต
เช่น ให้กทม.เลิกรถติด สร้างโครงการใหญ่เพิ่ม ฉะนั้นง่ายๆ คือขอให้ทุกคนทำตามกฎจราจรก่อน
ประชาชนทุกคนจะรู้ว่าปัญหาของตัวเองอยู่ตรงไหน จะรู้ว่าเส้นทางไหนขวางทางหรือติดขัด
จะรู้ว่าเวลารถตู้จอดสองเลนเป็นอย่างไร ฉะนั้นเราต้องเริ่มเคารพกฎจราจร
มีการรณรงค์ในวันจันทร์ พุธ ศุกร์ หลังจากนั้นทุกคนจะช่วยกันถ่ายรูปปัญหาบนท้องถนนที่ทุกคนพบเจอมา
แล้วส่งมาทางเว็บไซต์ที่เราจะตั้งขึ้นมา เป็นเว็บไซต์ของกทม.ที่ทุกคนจะสามารถดาวโหลดได้
โดยรถแต่คันจะมีตำแหน่ง GPS บอกอยู่ แล้วจากนั้นก็จะส่งไปที่กองบัญชาการตำรวจนครบาลที่ดูแลจราจรโดยเฉพาะ
นี่จึงเป็นวิธีแก้ปัญหาโดยภาคประชาชนแล้วปัญหาจราจรจะลดลงแบบคาดไม่ถึง
เป็นวิธีที่ไม่ต้องลงทุนอะไรด้วย
      
       3. ขยะแลกสวนสาธารณะ ขยะเกือบหมื่นตันต่อวัน ช่วยกันเปลี่ยนมันเป็นเงิน
แล้วเอาเงินนั้นมาใช้สร้างสวนสาธารณะของพวกเรา ผมคิดว่าเราควรจะแยกถุงขยะเป็นสามสี แดง เหลือง เขียว
ทั้งนี้สำหรับสีแดงก็คือขยะที่ย่อยสลายไม่ได้ เหลืองคือไม่รู้จะเอาไปทำอะไรต่อ
ถ้าเราแน่ใจเราก็ใส่ถังเขียว ดังนั้นต้องมีการจับแยกที่บ้านของตัวเอง
เราต้องเปลี่ยนขยะพวกที่เป็นทรัพย์สินโดยที่เรามีสัมปทานอยู่
เราก็สามารถหารายได้จากขยะตรงนี้ แล้วนำไปสร้างสวนสาธารณะ
       ผมยกตัวอย่างจากตัวเลขจริง ขยะมูลฝอยในกรุงเทพฯ ตก 9,745 ตันต่อวัน
หากนำมารีไซเคิลจะเป็นเงิน 8 บาทต่อกิโลกรัม
แปลว่าเราสามารถแปลงขยะเป็นเงินได้วันละ 77.9 ล้าน
สมมุติหักค่าจัดการต่างๆ ออกไป เหลือกำไร 20% กรุงเทพฯ ก็ยังมีรายได้เพิ่มขึ้น 5,691 ล้านบาทต่อปี
วิธีจัดการก็ง่าย สำรวจพื้นที่สาธารณะ ประเมินค่าใช้จ่าย เปิดให้เอกชนรัฐซื้อขยะ
เพื่อแปรรูปหรือส่งออกต่อไป ทำระบบรายการปริมาณขยะ
เมื่อบรรลุเป้าหมายการขายขยะจึงนำเงินไปสร้างสวนสาธารณะ
      
       4. 50 เขต 50 เสน่ห์ ใช้เสน่ห์ของคนในเขต
เพื่อสร้างชุมชนในฝันให้เด็กๆ ได้เข้าใจชุมชนที่ตัวเองเติบโตมา
หลักคือจะกระจายอำนาจให้กับผู้อำนวยการเขตทุกเขต การที่จะทำให้เศรษฐกิจมันหมุนเวียน
มันไม่ได้อยู่ที่ใดที่หนึ่งของกทม. เรื่องนี้จะเป็นตัวหลักในการเปลี่ยนแปลงกรุงเทพฯ อย่างหยั่งยืน
ยกตัวอย่าง ลาดกระบังให้ ผอ.ลองทำประชามติ คนลาดกระบังบอกว่าอยากให้เป็นเมืองแห่งเทคโนโลยี
เราก็จำลองเลยว่าจะมีไวไฟ แบบไหนถึงจะเหมาะสม มีพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์
เราสามารถที่จะพาลูกของเราไปเรียนวิทยาศาสตร์ที่เขตลาดกระบังได้ หรือจะเป็นเขตบางรัก
ขอเสนอว่าเป็นดินแดนแห่งความรัก จัดเทศกาล จัดวอล์กกิ้งสตรีท ให้คนมาร่วมสนุกได้
ทั้งนี้จะให้ประชาชนในแต่ละเขตสามารถกำหนดได้ว่าจะออกแบบชุมชนเราให้เป็นแบบไหน
จะเพิ่มแหล่งทำมาหากิน
      
       5. ดูแลโรงเรียนด้วยหัวใจ เราจะต้องช่วยกันดูแลครูให้ดีเพื่อให้ครูได้มีโอกาสสร้าง
คนกรุงเทพสำหรับอนาคต” พร้อมทั้งเสนอโรงเรียนทางเลือกให้คนกรุง
เพราะเห็นว่าหลายครั้งที่รัฐบาลบริหารโรงเรียนและครูจะหนักไปที่การบริหารงบประมาณ
ไม่ค่อยบริหารเรื่องหัวใจ เราต้องเข้าไปรู้ว่าครูทำงานในแบบใด นอกจากนี้อีกแนวทางหนึ่งที่คิดไว้คือ โรงเรียนทางเลือกคือนำเอาแนวทางโรงเรียนนานาชาติมาปรับให้เข้ากับแบบความเป็นไทย
หลักสูตรของเราจะทัดเทียมเมืองนอก เช่น สิงคโปร์ สวีเดน อังกฤษ สหรัฐอเมริกา ฯลฯ
ซึ่งโรงเรียนทางเลือกถูกรับรองแล้วโดยกฎหมายของทางกระทรวงศึกษาธิการ
ซึ่งเราสามารถจะทำได้และค่อยๆ ทำต่อไป โดยโรงเรียนทางเลือกก็คือ แตกต่างจากหลักสูตรโดยทั่วไป
และบางที่ทำเป็นโรงเรียนสำหรับนักวิทยาศาสตร์โดยเฉพาะ จบออกมาก็สายตรงเลย
      
       6. โฆษณาสีเขียว เปลี่ยนโจทย์ให้นักทำโฆษณาอยากโฆษณา 
ต้องกล้ามอบความเขียวคืนให้กับกรุงเทพฯ
คงตรงกับที่ส่วนตัวปฏิเสธการหาเสียงโดยใช้ป้าย มันจะเป็นโจทย์ให้กับนักทำโฆษณา
บริษัทต่างๆ ก็อยากจะส่งเสริมภาพลักษณ์ตัวเองในเรื่องแง่ของสิ่งแวดล้อม
อย่างบริษัท SCG แล้วก็มีโลโก้ของ SCG อยู่ข้างบนต้นไม้ กรุงเทพฯ ก็จะมีรายได้เพิ่ม
ประชาชนเห็นก็จะสบายตาเขียวสวย ถ้าจะทำสถานที่ อาทิ ตอม่อรถไฟฟ้า ใต้ทางด่วน
ถ้าใช้โฆษณาสีเขียวก็จะลดค่าโฆษณาป้ายให้ เมืองสวยขึ้น เอกชนแฮปปี้ ประชาชนแฮปปี้
      
       7. จักรยานไม่ใช่ลูกเมียน้อย
ทำไมผู้ใช้จักรยานในเมืองใหญ่ทั่วโลกไม่ต้องเสี่ยงตายเท่าผู้ใช้จักรยานในกรุงเทพฯ
ซึ่งน่าจะดูแลใส่ใจกับกลุ่มคนเหล่านี้ เพราะพวกเขาช่วยลดปัญหารถติด
พวกเขาช่วยลดปัญหามลพิษ เราควรที่จะสนับสนุน
เราเลยอยากจะทำให้จักรยานเป็นพาหนะหลักเป็นทางเลือกอันหนึ่ง เหมือนรถยนต์และมอเตอร์ไซค์
ถามว่าเราสร้างที่จอดรถให้รถอื่นๆ ได้ ทำไมจะมีที่จอดรถจักรยานบ้างไม่ได้
จักรยานไม่ใช่พาหนะที่จะใช้ออกกำลังกายอย่างเดียว ซึ่งต้องมีทางจักรยานเพิ่มขึ้นด้วย
สามารถขับขี่ไปทำงานได้อย่างปลอดภัย ห้างสรรพสินค้าควรจะมีที่จอดรถจักรยาน
ก่อนจะโดยสารต่อไปด้วยรถไฟฟ้าก็ควรจะมีที่จอดรถจักรยาน ต้องทำให้เป็นทั้งเมือง
ต้องมีการประชุมร่วมกันกับผู้รับผิดชอบจักรยานระดมสมองกัน
      
       8. เครือข่ายการเดินทางสาธารณะ จะต้องเริ่มจากหน้าบ้าน โดยหน้าที่ของกทม. คือ
การดูแลผู้ใช้บริการระบบขนส่งสาธารณะให้ดีตลอดเส้นทางต้องเชื่อมโยงให้ได้ทุกจุด
นี่จะเป็นเรื่องเดียวกับการแก้จราจรจากศูนย์
ผมจะต้องทำจนกว่า คนจะรู้สึกว่าการขับรถไปเองทรมานกว่าการใช้รถสาธารณะ
การแก้ไขปัญหาจราจรถึงจะจบสิ้นและยั่งยืน หน้าบ้านที่พูดไปก็คือ
ตั้งแต่หน้าบ้านเราจะออกไปขึ้นรถวินมอเตอร์ไซด์อย่างไร รถตู้อย่างไร ถึงจะถึงรถไฟฟ้า
จะใช้เวลา 1 ปีในการจะประกาศอนาคตเครือข่ายของกรุงเทพฯ เพราะเรื่องนี้เป็นเรื่องใหญ่มาก
คือถ้าวันหนึ่งคนไม่อยากขับรถแล้ว อยากใช้เดินทางด้วยระบบรถสาธารณะมากขึ้น
รถส่วนตัวก็จะหายไป รถน้อยลงจลาจรก็จะง่ายขึ้นเอง
      
       9. ยกระดับหน่วยกู้ภัยกรุงเทพฯ ให้ทัดเทียมนานาชาติ
เป็นผู้ช่วยเหลือที่ไว้ใจได้ที่สุดในยามฉุกเฉิน อุปกรณ์พร้อม ความสามารถของบุคลากรพร้อม
คือเทศกิจของเราอาจไม่เพียงพอและคนกรุงเทพฯ อาจต้องการความปลอดภัยมากยิ่งขึ้น
อยากจะสนับสนุนหน่วยกู้ภัยทั้งหมดของกรุงเทพฯ เพื่อออกมาเป็นอาสาสมัครทำงานให้คนกรุงฯ 24 ชั่วโมง
ถ้าใครเจ็บป่วยเดือดร้อนก็จะมีคนคอยดูแลให้ ลำพังแค่ตำรวจอย่างเดียวไม่เพียงพอ
ในระดับนานาชาติก็เป็นแบบนี้ทั้งหมด คนในชุมชนก็จะช่วยให้รายได้เขาจากการช่วยกันตรวจตรา
ความปลอดภัยก็จะมีมากขึ้นจากอาสาสมัครเหล่านี้
      
       10. เมืองที่ผู้หญิงอยู่อย่างมีความสุข เมื่อผู้หญิงมีความสุข
ทุกคนในบ้านก็มีความสุขปกป้องให้ปลอดภัย สร้างโอกาสที่จะก้าวหน้า ส่งเสริมในสิ่งที่ชอบ
คือถ้าผู้หญิงในบ้านมีความสุขทุกคนในบ้านก็จะมีความสุขหมดแน่นอน
ฉะนั้นผู้หญิงต้องมีความปลอดภัยในชีวิตของพวกเขา ทั้งกล้อง อาสาสมัคร ที่จะทำให้เขาอุ่นใจ
ผู้หญิงชอบชอปปิ้ง หลังจากเลิกงานมีที่พักผ่อน ส่งเสริมเรื่องการทำสุขภาพให้ดี
ถ้าผู้หญิงในเมืองนี้มีความสุข ความปลอดภัยคนอื่นในกรุงเทพฯต้องมีแน่นอน
      
      11. Lifestyle City / City of Living / Work-Life Balanced / สร้างสมดุลของชีวิตคนกรุงเทพฯ
เมืองต้องการศิลปะทุกหัวระแหง เมืองต้องการพื้นที่สำหรับออกกำลัง
กรุงเทพฯ ต้องสนับสนุนให้ชีวิตของคนในเมืองดีขึ้น
เรื่องนี้ตกใจมากเรื่องเวลาตัวเองรณรงค์เรื่องการหาเสียง
ที่ว่าเป็นความคิดสร้างสรรค์ของคนกรุงเทพฯ ที่มีอยู่อย่างมากมาย เช่น
เอาใบกะเพรา เอาต้นหอม หรือมะเขือเทศมาเรียงเป็นชื่อสุหฤท เบอร์ 17
หรืออย่างมีรถที่ฝุ่นเกาะเต็มไปหมดยังไม่ได้ล้าง คนที่ชื่นชอบเราก็ไปเขียนว่า
คนล้างไม่อยู่ไปโหวตให้สุหฤท พวกนี้ก็จะแชร์ไปในส่วนต่างๆ ของโซเชียลเน็ตเวิร์ก
นี่คือความคิดสร้างสรรค์ที่ถูกซ่อนอยู่และไม่ได้รับการสนับสนุน บางคนสามารถที่จะใช้ชีวิตสองด้านได้
ฉะนั้นเราต้องมีที่ที่ให้คนสามารถมารวมตัวกัน วาดรูป เล่นดนตรี มีงานศิลปะ กีฬา
แสดงออกในด้านต่างๆ ให้อีกด้านหนึ่งชีวิตของเขามีความสุข
      
  12. Bangkok-Emo-Meter 
กรุงเทพฯ เมืองแห่งความเชื่อมโยงแอปพลิเคชั่นเดียวสำหรับการใช้ชีวิตในกรุง
เริ่มตั้งแต่ได้ข้อมูลทันเวลาที่ต้องการไปจนถึงประเมินความพอใจได้ในทุกเรื่อง
ทุกวันนี้คนในกรุงเทพฯ ใช้โทรศัพท์สมาร์ทโฟนเป็นล้านคน
ผมมองว่าโลกของดิจิตอลมันเดินเร็วมาก ถ้าไม่เริ่มต้นตั้งแต่วันนี้มันจะไม่ทัน 
เราลองไปดูที่สิงคโปร์ เมืองของเขาสามารถที่จะโหลดแอปพลิเคชั่นให้การใช้ชีวิตในเมืองเขาดีขึ้น
เช่น เราสามารถติด GPS ให้กับรถเมล์ได้ ป้ายรถเมล์ก็จะบอกว่าอีกกี่นาทีรถเมล์สายที่เรารอจะมา
เป็นชีวิตที่วางแผนได้นี่แค่ยกตัวอย่าง แอปพลิเคชั่นที่จะทำจะไประดมสมองจากผู้ที่เชียวชาญ
พวกวัยรุ่นออกมาให้ใช้ประโยชน์ให้กับกรุงเทพฯ เรื่องอื่นได้
เราจึงต้องค่อยๆ ทำเพราะฐานข้อมูลเรายังไม่แน่น

ขอบคุณข้อมูลจากผู้จัดการออนไลน์

22 กุมภาพันธ์ 2556

เลือกผู้ว่าฯ กทม. เลือกใครดี?

ช่วงๆ นี้เหมือนเช่นเคยยามที่มีงานฟรีแลนซ์ทยอยเข้ามาให้รับใช้ เรียกใช้บริการ
จึงไม่ค่อยมีอารมณ์กลั่นกรอง ไม่มีเวลาจดจาร และไร้จินตนาการจะกดแป้นพิมพ์
แม้นว่าพอจะมีประเด็น มีโครงเรื่องบางอย่างในสมองที่อยากจะเขียนเพื่อเล่าสู่กันฟังบ้าง
กระนั้นก็หมดพลังด้วยเหนื่อยล้าจากการงาน หรือเวล่ำเวลาที่ถูกดูดกลืนจนมิอาจอัพเดทบล็อกได้
ทว่าก็อยาก "ขอบคุณ" ผู้ว่าจ้างทั้งหลายที่ให้ความไว้วางใจและให้งานมาทำด้วยความมั่นใจ
บางแห่งก็น่ารักและใจดีกรุณาส่งงานพิสูจน์อักษร (Proofredder) มาให้อย่างสม่ำเสมอทุกๆ เดือน
เพราะเมื่อมี 'งาน' ทำก็หมายถึงมี 'เงิน' เพื่อจะมีลมหายใจอยู่ในโลกใบนี้ต่อไปได้...

ผมเชื่อว่า...คงมีหลายๆ ท่านและหลายๆ คนอยากหลุดพ้นจากการเป็น "พนักงานประจำ"
ย่อมมิปรารถนากระวีกระวาดตื่นเช้ารีบเดินทางเพื่อไปทำงานให้ทันเวลาตอกบัตร 
บางบริษัทอาจไฮเทคโดยการสแกนลายนิ้วมือบันทึกเวลาเข้าและออกงาน
ขณะบางคนมีรถส่วนตัวก็อยากได้ความสบายแม้นจะสิ้นเปลืองค่าน้ำมัน 
ส่วนคนไม่มีรถเป็นของตนเองก็อาจใช้บริการรถสาธารณะหลายต่อและหลายสาย
ยิ่งวิถีชีวิตในเมืองหลวงที่แออัดยัดเยียดและสภาพการจราจรที่แสนติดวินาศสันตะโร
ทำให้จำต้องเสียเวลาอยู่บนท้องถนน เสียเงินกับค่าเดินทาง และเสียสุขภาพจิตยามรถติดหนึบ
ซึ่งรถก็น่าติดอยู่หรอก ในเมื่อใครๆ ก็อยากมีรถยนต์ส่วนตัวกัน ขณะท้องถนนนั้นมีเท่าเดิม
แล้วถ้าเกิดอุบัติเหตุล่ะ? หรือฝนตกกระหน่ำหนักเล่า? หรือไม่มีรถไฟฟ้าและรถไฟใต้ดิน?

หลายๆ ครั้ง...หลายๆ หน...ผมก็ให้รู้สึกแปลกแยกและแปลกเปลี่ยวในเมืองหลวง 
เห็นตึกสูงตระหง่านชูประชันผงาดประหนึ่งจะประกาศความยิ่งใหญ่เทียมฟ้า
เห็นแผงลอยริมทางเท้าตั้งระดะแลดูเกะกะทำให้คนเดินต้องก้าวฉวัดเฉวียน
เห็นน้ำในลำคลองเป็นสีดำหมองและสารพัดขยะลอยเอื่อยพะเยิบพะยาบ
เห็นผู้คนมากมายหลายลักษณะต่างเร่งรีบและแข่งขันกันทำงานหาเงิน
เห็นหนุ่มสาววัยเล่าเรียนศึกษาอยู่กันเป็นคู่ๆ หรือมีเซ็กซ์ก่อนวัยอันสมควร
แล้วก็เห็นอะไรต่อมิอะไรอีกหลากหลายสารพัน ทั้งแง่ร้ายและแง่งาม ทั้งน่ารักและน่าร้องไห้...


เหลือเวลาอีกไม่กี่วันก็จะมี การเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ครั้งที่ ๑๐ แล้ว
เท่าๆ ที่ตามข่าวสาร ดูเหมือนว่าจะเป็นสงครามชิงเมืองหลวงของพรรคการเมืองสองพรรค
โดยคนกทม. ที่มีสิทธิ์เลือกตั้งและออกเสียงจะเป็นผู้ตัดสินอนาคตของมหานครแห่งนี้
หรือจะเกิดปาฏิหาริย์ปรากฏว่า ผู้สมัครอิสระชนะด้วยคะแนนท่วมท้นจนได้เป็นผู้ว่าฯ
...คำตอบคงรู้ใน วันอาทิตย์ที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2556 แน่ๆ

ถึงแม้นว่าผมจะไม่ใช่คนกรุงเทพฯ ไม่ได้ย้ายทะเบียนบ้านมาเป็นคนเมืองหลวงเต็มขั้น
แต่ก็อาศัยอยู่กินและทำงานหาเงินในมหานครแห่งนี้มาร่วมๆ ๑๗ ปีแล้ว
ลึกๆ ผมมองว่า...กรุงเทพฯ เสมือนคนป่วยไข้ ซึ่งนับวันก็ป่วยทรุดโทรมลงเรื่อยๆ
ถ้าพินิศในด้านความศิวิไลซ์ ความเจริญ ความทันสมัย หรือความรุ่งเรืองแล้วละก็
คงเห็นชัดตรงปัจจัยภายนอก หน้าตา สภาพแวดล้อม ตลอดจนเครื่องอำนวยความสะดวกสบายต่างๆ
กล่าวแบบซื่อๆ ก็คือ เจริญรุ่งโรจน์ทางด้านวัตถุกับเทคโนโลยี นั่นเอง
แน่นอนว่า...กรุงเทพฯ มีคอนโดฯ เพิ่มขึ้น สูงขึ้น มีหมู่บ้านจัดสรรมากขึ้น มีรถราหนาตามากขึ้น
แล้วก็มีอาชญากรรม การฆาตกรรม ยาเสพติด และมีสถานบันเทิงเริงรมย์มากขึ้นด้วย

กรุงเทพมหานคร ต้องการหมอ...
หรือก็คือ ผู้ว่าฯ เพื่อมาเยียวยา รักษา และผ่าตัดคนไข้ที่ชื่อ "กรุงเทพฯ"
ทั้งควรเผ็นผู้ที่พร้อมจะเสียสละและทำประโยชน์เพื่อคนกรุงจริงๆ
บริหารงานและใช้อำนาจที่มีอย่างเป็นธรรม ตรงมาตรงไป ต้องรับใช้ประชาชนมากกว่าเล่นเกมการเมือง
ไม่มีสี ไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง และก็ต้องแก้ปัญหาอย่างตรงจุดถูกประเด็น ฯลฯ

แต่ถ้าผมมีสิทธิ์ออกเสียงเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครล่ะ--?
ผมจะเลือกใครดี จะพิจารณากาให้ใครอย่างไร จะลงคะแนนที่ตัวบุคคลหรือเลือกพรรค?
จะไตร่ตรองดูที่นโยบายสวยหรูหรือความเป็นไปได้จริง หรือจะงดออกเสียงให้รู้แล้วรู้รอดดีหนอ...
ไว้บทความต่อไป...ผมจะมาบอกกล่าวกัน...


13 กุมภาพันธ์ 2556

Valentine นิยายรักไม่มีชื่อ

ในวันที่ 14 กุมภาพันธ์ของทุกๆ ปี ถือเป็นวันสำคัญวันหนึ่งของชาวคริสต์
นั่นก็คือ วันวาเลนไทน์  Valentine
วันวาเลนไทน์ หรือวันนักบุญวาเลนไทน์ หรือที่รู้จักกันว่า "วันแห่งความรัก" นั้น
เป็นวันที่คู่รักจะบอกความในใจของกันและกัน อาจจะโดยการส่งการ์ด มอบดอกไม้ มอบตุ๊กตา
หรือพากันไปท่องเที่ยวในสถานที่หวานแหววโรแมนติกสุดประทับใจ

สัญลักษณ์ของวันวาเลนไทน์คือ เทพเจ้าคิวปิด ซึ่งเป็นเทพเจ้าแห่งความรักดั้งเดิมของชาวโรมัน
โดยมีร่างกายเป็นเด็กทารกติดปีก กำลังโก่งคันศรทองเล็งไปยังหัวใจของผู้คน
ตามตำนานของกรีกและโรมันพูดถึงคิวปิดว่า...
เป็นบุตรของมาร์ (เทพเจ้าของสงคราม) และ วีนัส (เทพเจ้าแห่งความรักและความงาม)

***

ช่วงนี้...ชีวิตยังวุ่นๆ หลายอย่าง ตรุษจีนก็กลับไปบ้านเพื่อไหว้บรรพบุรุษ
ครั้นกลับมาถึงเมืองหลวง เปิดเมล์ก็มีงานฟรีแลนซ์ส่งมาให้ทำสองเรื่อง 
ทำให้ไม่ใคร่มีเวลามาอัพบล็อก หรือลงขายหนังสือมือสองที่ร้าน Life Book 
อีกทั้ง "ปลวก" ก็ยกทัพมาราวีหนังสือตามชั้นถึงในห้อง มันกัดกินหนังสือเสียหายไปหลายเล่ม
ซึ่งก็ตั้งใจว่าจะเขียนถึงเรื่องนี้เหมือนกัน ทว่าคงต้องจัดการเรื่องงานให้หมดห่วงและเสร็จสิ้นก่อน
ฉะนั้น จึงขอเอาเนื้อหาของ นิยาย ที่ริเริ่มลองเขียนมาลงให้อ่านคั่นเวลาไปพลางๆ
ทั้งๆ ที่ก็ไม่รู้ว่าตัวเองจะสามารถเขียนจนจบเป็นเล่มๆ ได้หรือไม่...ทว่าที่ลองเขียนนั้น
เพราะมีความรู้สึกรู้สาอะไรบางอย่างที่ฉาบฉวย ตะขิดตะขวงใจกับบางสิ่งที่เป็นไป...

ลองๆ ฝืนใจอ่านกันดู หรือไม่อ่านก็แล้วแต่ตามเจตจำนง (ยังต้องขัดเกลาอีก แค่ร่างๆ ไว้)
หมายเหตุ : อายุต่ำกว่า ๑๘ ปี ไม่ควรอ่าน เพราะอ่านหนังสือเรียนดีกว่าครับ

นิยายรักไม่มีชื่อ


บทนำ
    อากาศในห้องสวีทของโรงแรมระดับหรูกลางเมืองหลวงหนาวกำลังพอเหมาะ ท้องฟ้านอกผนังกระจกขนาดใหญ่บานใสมืดสลัวคล้ายว่านางฟ้าดึงม่านสีดำบังซ่อนความงามไว้ ขณะในห้องมีเพียงแสงนวลเรื่อจากโคมไฟเหนือหัวเตียงสาดรางๆ ชายหนุ่มนอนตะแคงมองใบหน้าขาวเนียนของหญิงวัยสามสิบปลายๆ อย่างพินิจ จวบสามเดือนแล้วที่ทั้งสองคบหาและมีสัมพันธ์สวาทกัน หากแต่ความสัมพันธ์นั้นหาใช่ความรักฉันหนุ่มสาวคราวเบญจเพศเช่นทั่วไป เพราะวัยที่ห่างกัน ฐานะก็ต่างกัน ตลอดจนวิถีชีวิตที่ต่างกัน จึงเป็นเหตุสำคัญที่ทำให้สถานภาพของทั้งสองถูกตีขอบเขตแค่คู่นอนยามเหงาเปล่าเปลี่ยวเท่านั้น

ชายหนุ่มขยับกายเล็กน้อยแล้วหอมหน้าผากมนของหญิงวัยกลางคนอย่างแผ่วเบาด้วยกลัวว่าเธอจะตื่น ลมหายใจหอมละมุนรินรดหน้าอกแกร่งทำให้เขาอยากจุมพิตริมฝีปากสวยยิ่งนัก แม้ผู้หญิงที่นอนหลับพริ้มพักตร์ตรงหน้าอายุจะใกล้เลขสี่ก็ตามที ทว่าความสวยยังฉายฉานแจ่มยิ่งกว่าสาวแรกดรุณี รูปร่างทรวดทรงก็บอบบางอรชรน่าเชยชมพรมไล้ ผิวพรรณขาวละเอียดดุจหิมะธิเบต ทั้งหน้าอกก็ยังยั่วยวนเต่งตึงเต็มมือ

“อ้าว เอกตื่นแล้วเหรอคะ นี่ตีไรแล้วล่ะ” ระรินเอ่ยถามเสียงงัวเงียก่อนจะซุกหน้าแนบอกชายหนุ่มอย่างหวงหา

เอกวัฒน์หยิบโทรศัพท์มือถือเครื่องบางที่วางไว้หัวเตียงมากดดู “ตีสองแล้วครับ รินนอนต่อเหอะ พรุ่งนี้มีประชุมที่บริษัทนี่” เขาบอกแล้วแย้มยิ้มอ่อนโยนขณะเอามือลูบผมยาวนุ่มสลวยของคนนอนข้างๆ 

“ใช่ค่ะ ประชุมตอนบ่ายๆ รินรู้สึกหนาวยังไงไม่รู้ อยากให้เอกกอดรินแบบนี้ทุกคืนจัง อบอุ่นดี” ร่างบางพูดจบก็แหงนศีรษะรับริมฝีปากของชายหนุ่มที่ประทับจูบชิวหาความหวานล้ำ ลิ้นแลกลิ้นแล้วดูดดื่มอย่างใคร่กระหาย เอกวัฒน์ลูบไล้แผ่นหลังเนียนนวลก่อนเลื่อนลงไปขยำก้นนิ่มงามงอนเบาๆ เขาถอนจุมพิตออกจากริมฝีปากเรียวสวยเพื่อเลื่อนลงมาไซ้ซอกคอระหงด้วยแรงราคะที่คุกรุ่น ร่างเปลือยเปล่าของทั้งสองกอดก่ายแนบชิดกันใต้ผ้าห่มเนื้อนุ่มสีขาว ระรินเริ่มหายใจติดขัดเพราะไฟราคีเร่าร้อนถูกจุดโชนขึ้นอีกครั้ง

“ตัวรินหอมจังครับ หอมดั่งกุหลาบแย้มบานยามเช้า ผมปรารถนาในตัวคุณเหลือเกิน” ชายหนุ่มนัยน์ตาสีรัตติกาลรำพึงเสียงสั่นเครือ

“เอกน่ะปากหวานอีกแล้ว รินก็มีความสุขมากเลย อา ช่างรู้ใจรินจริงๆ แบบนี้รินคงหลงรักเอกหมดใจแน่ อือ...” ระรินพึมพำพลางครางครวญเมื่อเอกวัฒน์เคลื่อนมือตะปบเคล้นขยำปทุมถันชูชันเต็มแรง ขณะปากก็เลื่อนลงขบเม้มทรวงอกสล้างอีกข้างอย่างตะกรุมตะกรามและถวิลโหยหา ปลายลิ้นหนาตวัดเลียเนื้อเนินอกขาวราวกับกระหายมาแรมปี เขาดูดเน้นหนักหน่วงจนเกิดรอยจ้ำแดงกระจายทั่วดอกบัวคู่สวย บัดนี้อารมณ์พิศวาสของทั้งคู่โหมกระหน่ำดุจพายุคลั่งในมหาสมุทรก็มิปาน

“ผมก็มีความสุขเช่นกันครับ คุณเป็นผู้หญิงที่สวยที่สุดในชีวิตผมเลย โอว หน้าอกงามนัก รินจ๋า ผมจะปรนเปรอให้คุณมีความสุขอีกรอบนะ” เมื่อหนุ่มวัยอ่อนกว่ากล่าวจบก็ไล้ลิ้นเลียมาตามเนื้อหนังหน้าท้องแบนราบ แล้วค่อยๆ ดำดิ่งลงหาเนินสวรรค์อวบอูมหวานหยาดเยิ้ม มือคลึงบี้ปลายถันหมายจะพาหญิงร่างระหงล่องลอยสู่วิมานฉิมพลีที่พร่างพราย รสสัมผัสแสนวาบหวามทำให้เธอครวญครางอู้อี้อืออาในลำคอ เป็นเสียงที่เปี่ยมไปด้วยความสุขรัญจวนสยิวซ่าน กระทั่งเขาซุกหน้าละเลงลิ้มร่องฉ่ำที่ปกคลุมด้วยปุยไหมนานเนิ่นจนร่างเนียนบิดเร่าแทบขาดใจแดดิ้น

“เอกจ๋า...รินทนไม่ไหวแล้ว รินต้องการเอกเหลือเกิน” เสียงร้องกระเส่าปลุกเร้าอารมณ์ทำให้ชายหนุ่มเริงโรจน์เร่าร้อน โดยไม่ต้องรอให้เรียกซ้ำ มือแกร่งทั้งสองข้างพลันจับเรียวขางามแยกออกทันใด เขาสอดใส่สัญลักษณ์ของบุรุษเพศเข้าสำรวจหลืบถ้ำแห่งความเร้นลับและน่าค้นหา แล้วโถมตัวทาบทับเหนือร่างบางก่อนจะค่อยๆ กระแทกให้เร็วขึ้นและแรงขึ้น  ความสุขสมเสน่หาลอยอบอวลเลอค่าไปตามลีลาร่วมรักที่ร้อนแรง ทั้งสองแลกจูบกันอย่างกระสันลึกล้ำ แต่ละท่วงท่าเฉียดใกล้ภาวะจุดสุดยอดหลายครั้งหลายครา ทว่าทั้งคู่ก็ยังไม่ยอมเสร็จถึงฝั่งฝัน ต่างอ้อยอิ่งและปรารถนาตักตวงอารมณ์ในห้วงโลกีย์ให้ยาวนานเพื่อรอจะเดินทางไปสู่ฟากฟ้าปลายฝันร่วมกัน

“ริน...ผมใกล้แล้ว คุณต้องเป็นของผมคนเดียวนะ อูว” เอกวัฒน์สูดปากขณะเร่งจังหวะให้กระชั้นหนักขึ้น ระรินตอบสนองทันใดโดยกระหวัดขารัดเอวแกร่งเพื่อหยั่งลึกถึงลำเนื้อความเป็นชายไว้แน่น ชายหนุ่มรีบประกบปากดูดกลืนเสียงร้องร่ำที่ใกล้ทะลักล้นของฝ่ายหญิงทันที ต่างฝ่ายต่างกอดรัดกันแน่นเตรียมเติมเต็มให้กันและกัน และแล้วทั้งสองก็บิดร่างเกร็งก่อนจะทะยานหวิวถึงจุดหฤหรรษ์พร้อมกันในที่สุด

ระรินนอนอ่อนระทวยหมดแรงและหอบหายใจระโรย เธอมองชายหนุ่มวัยยี่สิบแปดปีที่นอนเคียงข้างด้วยความรู้สึกเปี่ยมสุขอย่างยากบรรยายด้วยบทกวีใดๆ ใบหน้าหล่อเข้มดุจเทพบุตรช่างคมคายสมชายชาตรี คิ้วดกดำโค้งโก่งเป็นคันศรพระราม จมูกโด่งเป็นสันสอดรับกับเรียวปากอิ่มได้รูป ผิวสีน้ำผึ้งแบบคนไทยขนานแท้ แถมร่างกายก็กำยำแข็งแรงดั่งนักรบโบราณ เห็นแล้วทำให้ยากจะอดใจอยู่นิ่งเฉยได้ อยากสัมผัสเคลียคลอทั้งวันทั้งคืน ระรินมองชายหนุ่มที่ไว้ผมรากไทรปรกไหล่สีดำขลับอย่างหลงใหลปลาบปลื้ม เกิดความรู้สึกว่าอยากให้เขาเป็นของเธอคนเดียวตลอดไป

“เอกรักรินบ้างไหมคะ หรือแค่ชอบเรื่องบนเตียงเท่านั้น” ร่างขาวเปลือยกระซิบถามข้างหูก่อนจะหอมแก้มหนุ่มรุ่นน้องฟอดหนึ่ง

ชายหนุ่มนิ่งอึ้งชั่วครู่ด้วยไม่มีถ้อยคำใดจะตอบให้กระจ่างแจ้ง เหมือนว่าความรู้สึกต่างๆ นานาวิ่งพล่านไร้ทิศทางและไร้ทำนองจะบอกกล่าว

“ไม่รู้สิ ตอนนี้ผมยังไม่พร้อมรักใคร” เอกวัฒน์ตอบเนือยๆ ด้วยรู้สึกอ่อนเปลี้ย จากนั้นเขาก็โอบแขนกอดระรินเพื่อให้ไออุ่น แผงอกหนาเบียดชิดหน้าอกอวบคู่สวยแทบหลอมเป็นเนื้อเดียวกัน

“รินคงแก่เกินกว่าที่เอกจะรักสินะ หรือไม่ก็คงอายเวลาเดินควงกับหญิงอายุคราวพี่คราวแม่ เรื่องนี้รินเข้าใจดี” น้ำเสียงคนพูดสื่อออกมาเสมือนประชดประชันและเจือความน้อยใจ

“ไม่ใช่อย่างนั้น รินยังดูสาวดูสวยเสมอ หน้าตาก็อ่อนกว่าวัย หุ่นยังเซ็กซี่น่าฟัด แถมเวลาคุณยิ้มก็ยิ่งเพิ่มเสน่ห์ดึงดูดจนหนุ่มน้อยหนุ่มใหญ่ต้องเหลียวมองกันขวับ รินยังดูไม่แก่เลยนะ ดูสิ ไม่เห็นมีตีนกาสักรอยเลย” ตอนนี้ชายหนุ่มตื่นเต็มตาแล้ว ความง่วงงุนปลาสนาการหายเป็นปลิดทิ้ง

“ทำมาเป็นปากหวานพูดเอาใจ รินไม่หลงกลหลงคารมเอกง่ายๆ หรอก ถามจริงๆ เอกรู้สึกยังไงกับรินกันแน่” คนถามนิ่งรอฟังคำตอบด้วยใจจดจ่อ

“เออ...คือ...ก็รู้สึกดีครับ ดีมากๆ เลย แบบว่า...เออ...ยามอยู่ใกล้รินแล้วมีความสุขอย่างบอกไม่ถูก” เอกวัฒน์อ้ำอึ้งตอบแล้วกระชับอ้อมกอดที่โอบร่างเปลือยแน่นขึ้น

“แค่นี้เหรอ เอาเป็นว่ารินไม่อยากรู้ล่ะ งั้นปิดไฟนอนกันดีกว่า จะตีสี่แล้ว น่าจะหลับได้สักสองสามชั่วโมง เดี๋ยวจะตื่นสายกัน พรุ่งนี้ช่วงหัวค่ำยังต้องไปงานเปิดตัวสินค้าใหม่ของบริษัทเพื่อนรินอีก เอกไปด้วยกันไหมล่ะ” ระรินเปลี่ยนเรื่องคุยแล้วลองออกปากชวนแบบทีเล่นทีจริง

“คุณก็รู้นี่ว่าผมไม่ชอบงานสังคมแวดวงไฮโซพวกนี้ ขี้เกียจปั้นหน้ามารยาสาไถย คุณไปคนเดียวเหอะ ผมขออยู่ห้องทำงานดีกว่า ลูกค้าเจ้าหนึ่งอยากเปลี่ยนโลโก้ใหม่ งานเร่งซะด้วยสิ” ชายหนุ่มหาเหตุผลปฏิเสธแบบถนอมน้ำใจคนชวน เพราะตั้งแต่รู้จักคบหากันมาร่วมสามเดือน ระรินได้เอ่ยชวนเขาออกงานสังคมต่างๆ หลายครั้ง ซึ่งเขาก็บอกปัดหรือปฏิเสธไปทุกครั้งเช่นกัน

ที่จริงระรินรู้คำตอบดีอยู่แล้วว่าเขาจะพูดเช่นไร ทว่าเธอก็อยากชวนดูเผื่อเขาจะเปลี่ยนใจอยากออกงานสังคมบ้าง

“แบบนี้ทุกที พ่อคนมีโลกส่วนตัว ชวนไปงานไหนๆ มักหาเหตุไม่ว่างตลอด แต่พอชวนดื่มหรือชวนเข้าโรงแรมกลับว่างแทบจะทันทีทันใด สงสัยรินเป็นแค่ที่บำบัดความใคร่ชั่วคราวของเอกเท่านั้นมั้ง” ระรินตัดพ้อด้วยความน้อยใจเต็มประดา

“ไม่ใช่แบบนั้น ผมไม่ว่างจริงๆ รินอย่าคิดมากสิ ผมง่วงแล้ว เรานอนกันเถอะ” เอกวัฒน์พยายามตัดบทดื้อๆ เพราะรู้ว่าอธิบายไปก็เปล่าประโยชน์ คุยไปคุยมาเดี๋ยวลงเอยด้วยการทะเลาะกันแน่ๆ ทั้งไม่มีอารมณ์จะต่อล้อต่อเถียงกับร่างเพรียวบางที่นอนกอดอยู่สักเท่าไร

“นอนก็นอน ถ้าเอกตื่นช่วยปลุกรินด้วยนะคะ”    

“ได้ครับ จะปลุกตอนเจ็ดโมงเช้าเลย พร้อมกาแฟร้อนๆ หอมกรุ่นตั้งรอ แต่ตอนนี้ขอจุ๊บปากรินก่อนหลับสักหน่อย เห็นปากคุณทีไร ผมแทบคลั่งทุกที อยากประคองจูบให้นานแสนนาน” เขาโน้มหน้าลงมาจูบปากเธอทันที มือพลันเลื่อนมาเกาะกุมหน้าอกนูนผ่องของคู่นอนต่างวัยอย่างเคยชิน

“ฝันดีนะคะ พ่อคนมีโลกส่วนตัว” ระรินกระซิบกระซาบหลังจากที่เขาถอนจุมพิต

“ฝันดีจ้า คนงาม” ชายหนุ่มพึมพำเบาๆ

..........

31 มกราคม 2556

ค่าจ้างงานพิสูจน์อักษร Freelance จบ

ในที่สุดก็สิ้นเดือนอีกแล้ว     โอ้...ขวัญแก้วจอมใจในดวงจิต
อันความเป็นอยู่...ฤดูชีวิต     ยังหาเงินได้น้อยนิด มิรู้ทิศทาง
อาชีพฟรีแลนซ์แสนร้าวลึก   ยามเปลี่ยวดึกยังคร่ำเคร่งเพ่งตาถ่าง
ตรวจพิสูจน์อักษรก่อนรุ่งราง หลายคราอ่านถึงสว่าง ฟ้าเรืองรอง...

นี่แหละหนอ...กับวิถีที่เลือกเดินในอาชีพอิสระซึ่งยังไม่ลงตัวหรือใกล้เห็นแววเติบโตในอันใกล้
ด้วยปัจจัยหลายๆ อย่าง ทั้งภายนอกและภายใน ทั้งที่ยากกำหนดหรือหยั่งรากฐานให้แน่นปึก
แล้วก็ยังหาความแน่นอนอันใดมิได้เลย พยายามอดทน ปลอบปลุก และมุ่งมั่นสู้มานะต่อไป...

ผ่านไปกับหัวเรื่อง ค่าจ้างงานพิสูจน์อักษร Freelance ทั้งสอนตอนแบบบ้านๆ ใครยังไม่ได้อ่านก็คลิกไป ณ ลิงก์ด้านล่างกันตามอัธยาศัย
(ไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งสิ้น ^^)
ค่าจ้างงานพิสูจน์อักษร Freelance 1 
ค่าจ้างงานพิสูจน์อักษร Freelance 2
ซึ่งก็พยายามรวบรวบและเรียบเรียงให้พอเป็นสังเขป
ตามประสบการณ์เท่าที่มี ตามความเป็นจริงที่สุดแห่งชีวิต
โดยในตอบจบแบบไตรภาคนี้...
ใคร่ปรารถนาจะสรุปเก็บตกหรือขยายความเพิ่มเติมบ้าง


ตำแหน่งงาน หรืออาชีพ Proofreader (พิสูจน์อักษร) โดยปกติแล้วมักจะจ้างเป็นพนักงานประจำกัน
ไม่ว่าจะเป็นบริษัท สำนักพิมพ์ หรือผู้ประกอบการโรงพิมพ์ต่างๆ ต้องมีฝ่ายปรู๊ฟนั่งประจำอยู่ในออฟฟิศ
นัยว่าสามารถเรียกใช้ ให้งาน เร่งงาน ประสานงาน ติดต่อ หรือกำหนดงานเสร็จได้ง่ายขึ้น
( สังเกตกันบ้างไหมว่าคุณสมบัติที่เปิดรับสมัครงานตำแหน่ง Proofreader (พิสูจน์อักษร) นี้ 
นอกเหนือจากวุฒิการศึกษา เพศ อายุ และประสบการณ์แล้ว ก็จะมีระบุว่า...
รักการอ่าน เกลียดคำผิด สามารถทำงานภายใต้ระยะเวลาที่กำหนดและความกดดันได้ 
มีความรับผิดชอบสูง ทำงานเป็นทีมได้ หรือทำงานล่วงเวลาและนอนค้างออฟฟิศได้)
เพราะบางคราอาจมีงานด่วน งานเร่ง หรือช่วงมีงานหนังสือที่ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์
ซึ่งสำนักพิมพ์ทั้งหลายต่างขมีขมันผลิตหนังสือเพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้ากันเต็มที่
ทำให้งานในกอง บก. อาจทำไม่ทัน งานล้นคนน้อย จึงมีการจ้างคนนอกมาช่วยในรูปแบบของฟรีแลนซ์

หน้าที่ของ พิสูจน์อักษร นั้น ว่ากันตามตรง ถ้าปรู๊ฟงานเนี้ยบงานเจ๋งจนไม่มีคำผิดใดๆ ในหนังสือเลย
ก็เสมอตัว ยากจะมีคำชมเซ็งแซ่ให้ได้ยลยิน ทว่าคนทำงานก็สบายใจที่หนังสือไม่มีเสียงตำหนิติติง
แต่หากว่า...ปรู๊ฟหลุด มีคำผิด มีคนบ่นเรื่องการพิสูจน์อักษรที่พิมพ์ผิดหลายจุด อ่านแล้วเสียอรรถรส
ฝ่าย พิสูจน์อักษร ก็จำต้องก้มหน้าทำใจรับไปเต็มๆ พ็อกเก็ตบุ๊คพิมพ์ออกมาแล้วคงไปแก้ไขอะไรไม่ได้
แม้นว่าความผิดพลาดในการปรู๊ฟที่เกิดขึ้นอาจมาจากตัวผู้ปรู๊ฟเอง ทว่าก็ยังมีปัจจัยอื่นๆ อีก
ไม่ว่าจะเป็นต้นฉบับที่ต้องปิดภายในไม่กี่วัน งานที่ตรวจพิสูจน์แค่รอบเดียวหรือสองรอบ
หรืออาจเป็นขั้นตอนปิดเล่มที่พิสูจน์อักษรแค่เทียบตรงส่วนที่ปรู๊ฟสั่งแก้ เพื่อตรวจว่าได้แก้ไขจริง
แต่ฝ่ายจัดหน้าหรือศิลปกรรมเกิดเผลอหรือ accident ไปโดนคำที่ถูกต้อง หรือประโยคที่ไม่ได้สั่งแก้ใดๆ
หรือไปสั่ง change บางคำเพื่อความรวดเร็ว เหล่านี้ก็เป็นสาเหตุที่ทำให้หนังสือเล่มนั้นๆ เกิดความผิดพลาดได้

ผมเชื่อโดยสุจริตใจเลยว่า...ไม่มีใครอยากให้หนังสือที่พิมพ์ออกมาแล้วเกิดตำหนิ หรือมีคนต่อว่าแน่
แม้นว่าในปัจจุบันนี้ จะมีโปรแกรมตรวจปรู๊ฟด้วยคอมพิวเตอร์มาช่วยงานแบ่งเบาก็ตามที
ซึ่งเจ้าโปรแกรมนี้สามารถช่วยงานฝ่ายพิสูจน์ฯ ได้ดีในระดับหนึ่งเท่านั้น
ก็มันไม่มีจิตใจ อารมณ์ และความรู้สึกนี่ คงตรวจเอา "ความ" หรือเข้าใจเนื้อหาทั้งหมดไม่ได้หรอก

ในฐานะที่ผมพอมีประสบการณ์ในแวดวงการทำหนังสือมาร่วมๆ สิบกว่าปี...
แล้วเกิดวันหนึ่งวันใดในกาลข้างหน้าพอมีทุนทรัพย์ มีนายทุน หรือมีโอกาสได้นั่งแท่นบริหารสำนักพิมพ์
ผมก็คิดวางแผนและการจัดการในเรื่องขั้นตอนของฝ่าย พิสูจน์อักษร คร่าวๆ ไว้แล้ว
(แต่ขออุบกริบไว้ก่อน เผื่อจะได้นำมาเขียนลงในบล็อกนี้ในคราวหน้า)

กลับมาเข้าเรื่องสักเล็กน้อยที่ได้ติดค้างในตอนก่อนๆ กันเถิด
คือหลายเดือนมาแล้ว มีสำนักพิมพ์แห่งหนึ่งจะจ้างให้ปรู๊ฟงานแบบเหมาเป็นเล่มๆ
โดยทางนั้นได้เมลมาเสนอค่าปรู๊ฟให้ในราคาเล่มละ 500 บาท (ห้าร้อยบาทถ้วน)
อีกทั้งยังบอกว่าจะมีงานส่งมาให้ proof เรื่อยๆ หรือจะมีงานส่งให้ทำทุกๆ เดือน
ซึ่งผมก็ได้เมล์สอบถามกลับไปสองรอบว่า...500 บาทต่อเล่มนี่ หนังสือมีกี่หน้าและต้องปรู๊ฟกี่รอบ?!?
แนวหนังสือของที่นี่ก็นวนิยายไทยแนวรักๆ โรมานซ์ เฉลี่ยความหนาก็น่าจะสามร้อยหน้าอัพ
ทว่าก็ไร้เสียงตอบรับกลับมาใดๆ ทั้งผมก็ไม่กระตือรือร้นหรือคาดคั้นอยากรู้คำตอบเท่าไรนักด้วย

เพราะคิดว่า ถ้าจริงใจต่อกัน อยากให้ทำงานจริง และตรงไปตรงมา
ก็ควรที่จะตอบแจกแจงหรือให้รายละเอียดเกี่ยวกับงานให้มากขึ้น
เงิน 1 บาท 10 บาท 100 บาท หรือ 500 บาท ก็มีค่าทั้งนั้น
ผมไม่ได้หยิ่ง อหังการ์ ทรนงตัว แม้นจะจนหรือแทบไม่มีกินก็ตามที
กระนั้น ก็อยากทำงานด้วยความสบายใจ มีความสุข สนุกหรรษา
และพอใจกับอัตราค่าจ้างที่สมน้ำสมเนื้องาน ยุติธรรมซึ่งกันและกัน
ต่างฝ่ายต่างยอมรับกันได้ ต่างอยู่ด้วยกันได้...
"คุณอยู่ได้ เราก็อยู่ได้" ก็เท่านั้นเอง

ลองมาคิดกันแบบง่ายๆ สมมุติหนังสือเรื่อง ค่าจ้างงานพิสูจน์อักษร จัดอาร์ตเวิร์กมาได้ 304 หน้า
แล้วให้ค่าจ้างปรู๊ฟ (เอาแค่รอบเดียวพอ) 500 บาท ตกหน้าละบาทกว่าๆ
หนังสือ 304 หน้า จะใช้เวลาทำงานกี่ชั่วโมง? กี่วัน? ไหนจะค่าไฟ ค่าสึกหรอคอมพ์อีก
นี่ยังมิพักกล่าวถึงความเสื่อมทางสายตายามเพ่งอ่าน หรือความทรุดโทรมทางสุขภาพ
แล้วเป็นไปได้หรือที่พ็อกเก็ตบุ๊คหนาราวสามร้อยหน้า มีแต่ตัวอักษรล้วนๆ จะปรู๊ฟวันสองวันเสร็จ
ยิ่งถ้าปรู๊ฟรอบเดียวแล้ววันสองวันเสร็จ เชื่อเถอะ...คงมีคำผิด มีหลุด หรือทำงานแบบไร้คุณภาพ
งานเสร็จเป็นรูปเล่มแล้วก็ใช่ว่าจะเป็นงานที่ดีและถูกต้องเสมอไปหรอกนะ

ยิ่งถ้าเราคิดจะยึดอาชีพฟรีแลนซ์เพื่อการดำรงชีวิต เพื่อความอยู่รอด
ไม่ใช่ทำคั่นเวลาว่าง ทำแบบขำๆ ชิวๆ หรือมีรายได้หลักทางอื่นๆ มาจุนเจือ
ก็ควรยิ่งต้องคิดให้หนัก มันไม่ใช่การดูถูกเงินทอง แต่เราก็ต้องมีมาตรฐานราคางานเช่นเดียวกัน
มาตรแม้นอาจมีคนที่รับทำและพอใจกับค่าจ้างที่ว่านั้น ทว่าไม่ใช่ผมคนหนึ่งแน่นอน
ในวงการหนังสือแคบๆ ของลักษณะงานฟรีแลนซ์เช่นนี้ การคิดค่าจ้างแบบ "ตัดราคา" ให้ถูกกว่า
ย่อมสามารถทำได้ เป็นสิทธิของแต่ละคน ยิ่งคิดราคาถูกแถมคุณภาพงานปรู๊ฟเปี่ยมล้นก็ดีไป...
แต่สำหรับผมแล้วไซร้ ก็อยากมีรายได้เพื่อที่จะดำรงชีพอยู่ได้ มีงานฟรีแลนซ์ป้อนเข้ามาให้ทุกๆ เดือน

ยังมีอีกประเด็นสำหรับอาชีพ พิสูจน์อักษร ฟรีแลนซ์ ที่ต้องเตรียมรับและเข้าใจไว้ ก็คือ...
ระยะเวลาที่จะได้เงิน หรือรายรับที่แน่นอน เพราะผู้ว่าจ้างแต่ละที่ต่างมีกำหนดการจ่ายไม่เหมือนกัน
บางที่ปรู๊ฟงานเสร็จแล้ว อีกสองสามวันถึงโอนเงินให้ ยิ่งเป็นหนังสือที่มีกำหนดปิดเล่มเร็วก็รับค่าตอบแทนไว
ขณะบางแห่งหนังสือเล่มหนึ่งอาจใช้เวลาสองสามเดือนในการดำเนินการ ซึ่งเรามิอาจไปกำหนดอะไรได้
เมื่อเจอแบบนี้ก็ต้องมีทุนทรัพย์เพื่อหล่อเลี้ยงชีวิตและจิตใจเตรียมรับสภาพทางการเงินที่ไม่แน่นอน
เช่น เริ่มรับงานปรู๊ฟหนังสือเล่มหนึ่งต้นเดือนมกราคม กว่าจะปรู๊ฟครบสามรอบ ไหนจะนักเขียนตรวจ
บก.เช็ก อาร์ตแก้ ทำปก หรือวาดภาพประกอบ อาจปาไปสิ้นเดือนกุมภาฯ หรือมีนาฯ ได้
แล้วยิ่งเป็นหนังสือที่ไม่ใช่เบสเซลเลอร์ ไม่ใช่นักเขียนดัง ไม่ใช่ซีรี่ส์ที่คนอ่านติดงอมแงม ฯลฯ
ทางสำนักพิมพ์หรือผู้ว่าจ้างก็อาจไม่เร่งปิดเล่มหรือพิมพ์จำหน่าย ด้วยต้องการเซฟรายจ่ายไว้ก่อน

ยิ่งเขียนก็ชักติดลมบน พิมพ์ๆ ไป ข้อมูลในสมองและความทรงจำก็หลั่งไหลออกมาเรื่อยๆ
บางท่านอาจมองว่า อาชีพฟรีแลนซ์ นี่สบาย อิสระเสรี ลั๊นล้า นอนดึกตื่นสาย อยากทำงานตอนไหนก็ได้ 
ไม่ต้องอินังขังขอบกับสภาพฤดูกาลที่แปรเปลี่ยน ไม่ต้องเสียสุขภาพจิตกับปัญหาจราจรที่จอแจ
ซึ่งก็จริงส่วนหนึ่ง แต่สิ่งสำคัญต้องมีความรับผิดชอบต่องานสูง ทำงานเสร็จได้ตรงกำหนดเวลา
คนที่เป็นพนักงานเงินเดือนอาจทำงานวันละ 8 ชั่วโมง มีวันหยุดเสาร์-อาทิตย์ และหยุดวันนักขัตฤกษ์
ขณะที่คนยึดอาชีพฟรีแลนซ์อาจทำงานวันละ 10-18 ชั่วโมง วันเสาร์-อาทิตย์อาจไม่ได้หยุด
หรือบางเดือนแสนโชคร้ายอาจไม่มีงานฟรีแลนซ์ส่งมาให้ทำ ก็หมายถึงว่าเดือนนั้นจะไม่มีรายรับใดๆ

บางคราในบางเสี้ยวแห่งความรู้สึก ยามที่วันสิ้นเดือนเวียนมาถึง...
ผมยังหวนระลึกถึงครั้นสมัยที่ทำงานประจำ เป็นพนักงานกินเงินเดือนบ้าง
อย่างน้อยๆ ทุกๆ สิ้นเดือนก็ยังมีเงินเข้าบัญชีธนาคารที่แน่นอน มีรายรับที่เห็นๆ
มีเงินที่อาจใช้จ่ายหรือให้ความสุขกับชีวิตซึ่งคร่ำเคร่งเหน็ดเหนื่อยมาทั้งเดือนได้
ทว่า ณ ปัจจุบันนี้...ผมต้องปวดหัวเวียนเกล้ากับค่าผ่อนคอนโด ค่าหนี้บัตร ค่าไฟ ค่าน้ำ หรือค่าเน็ต ฯ
บางเดือนก็ผ่านพ้นไปได้ บางเดือนก็ร่อแร่ต้องหาหยิบยืมเงินจากคนอื่น บางเดือนแทบไม่มีจะกิน

ฟรีแลนซ์บางคนโชคดีมีวาสนาได้งานทำสม่ำเสมอ ได้ผู้ว่าจ้างที่มีน้ำใจงาม และรับค่าตอบแทนที่สูง
กระทั่งเดือนๆ หนึ่งสามารถทำงานแล้วรับเงินมากกว่าพนักงานประจำเป็นเท่าตัวด้วยซ้ำ 
ซึ่งไม่ใช่ผมแน่ๆ เพราะผมนั้นยังเป็น "ฟรีแลนซ์ที่ยากจนขัดสนที่สุด" เหมือนเช่นเดิม


LifeBook

.

24 มกราคม 2556

ค่าจ้างงานพิสูจน์อักษร Freelance 2

ยามที่พอมีเวลาว่างเว้นจากงานฟรีแลนซ์ (มีบ้างไม่มีบ้าง) จึงต้องกุลีกุจอมาอัพเดทบล็อกสักเล็กน้อย
ยิ่งผมทำบล็อกไว้ 4 บล็อก ย่อมทำให้เกิดความล่าช้าในการเขียนบล็อกเพื่อเพิ่มเนื้อหาล่าสุด
หลายๆ ครั้ง...สมองไม่แล่น อารมณ์ไม่พริ้ว พลันนึกเสกสรรถ้อยคำใดๆ ไม่ออกซะดื้อๆ

มาเข้าเรื่อง ค่าจ้างงานพิสูจน์อักษร Freelance ตอน 2 กันเถิดเอย...
หน้าที่ของ Proofreader หลักๆ คือ ตรวจสอบดูความถูกต้องของคำถูกคำผิด เรื่องของสำนวนภาษา
และรูปแบบการจัดหน้า ว่าหนังสือเล่มนี้มีสไตล์อย่างไร ประโยคไหนตัวหนา ถ้อยตอนใดตัวเอียง ฯ
โดยเครื่องมือสำคัญประจำตัวที่ต้องมีก็คือ "พจนานุกรมต่างๆ" และอาวุธในการทำงานก็คือ "สมาธิ"

จากบทความคราวก่อนหัวข้อ ค่าจ้างงานพิสูจน์อักษร Freelance 1 นั้น...
ได้พอเกริ่นๆ ลักษณะการทำงานของ พิสูจน์อักษร ฟรีแลนซ์ หรือ พาร์ทไทม์ ไปบางส่วน
ย้อนความคราวก่อน...โดยหลักๆ ของงานปรู๊ฟหนังสือจะมีอยู่ 2 แบบ คือ
หนึ่ง ปรู๊ฟจากกระดาษหรืออาร์ตเวิร์กที่ปริ๊นมา
สอง ปรู๊ฟจากหน้าจอคอมพิวเตอร์ PC หรือโน้ตบุ๊ค



...
ในฐานะ "ผู้รับจ้าง" ที่แสนน่ารักและว่าง่ายก็ต้องสามารถรับงานได้ให้หลากหลายแนวด้วย
ไม่ว่าจะเป็นแนวโรมานซ์ กำลังภายใน รักหวานแหวว แฟนตาซี วิชาการ ฮาวทู หรือศาสนา ฯ
เพราะ "ผู้ว่าจ้าง" ทั้งบริษัท สำนักพิมพ์ หรือในนามส่วนตัว อาจต้องการผลิตหนังสือให้หลากแนว
ที่สำคัญถ้าเรามีความรู้ ความเข้าใจ หรือสนใจงานเขียนต่างๆ ก็ย่อมมีความได้เปรียบเป็นต่อคนอื่นๆ
ยิ่งมีต้นทุนประสบการณ์ ความชำนาญ คลังคำในสมอง ความละเอียดถี่ถ้วน และเข้าใจงานมากเท่าไร 
ก็ยิ่งปรู๊ฟได้ไว เสร็จตามกำหนด ส่งงานตรงเวลา และช่วยให้หลายฝ่ายทำงานได้ง่ายขึ้นมากเท่านั้น
ทั้งทำให้เรามีโอกาสที่จะได้งานเพิ่มด้วย แถมเรายังได้อ่านงานเขียนหลายแขนงขึ้นอีก

ขนาดหนังสือโดยทั่วไปที่ตีพิมพ์วางแผงกันนั้น จะมีขนาดดังนี้
- 16 หน้ายกธรรมดา ขนาด  13 x 18.5 cm
- 16 หน้ายกพิเศษ   ขนาด 14.5 X 21 cm
- 8 หน้ายกธรรมดา ขนาด 18.5 X 26 cm  
- 8 หน้ายกพิเศษ ขนาด 21 X 29.2 cm
แต่ยังมีอีกหลายขนาด เช่น 20 หน้ายก, 24 หน้ายก และ 32 หน้ายก
ซึ่งที่นิยมพิมพ์กันมากก็คือ พ็อกเก็ตบุ๊ค ขนาด 16 หน้ายกพิเศษ นี่เอง

แล้ว "ราคา" หรือค่าเหนื่อย "ค่าจ้าง" สำหรับอาชีพ พิสูจน์อักษรอิสระ คิดกันยังไงล่ะ--?
ติ๊กต่อกๆ...ใคร่ขอแบ่งเป็น 3 ประเภทละกัน น่าจะประมาณนี้ :
1. คิดราคาแบบเหมาเป็นเล่มๆ ไป
2. คิดราคาเป็นหน้าๆ
3. คิดราคาเป็นยก (ส่วนใหญ่จะให้ค่าเหนื่อยในการปรู๊ฟเป็นยก)

ทีนี้ ลองมาลงรายละเอียดอย่างกว้างๆ คร่าวๆ กัน
1. คิดราคาแบบเหมาเป็นเล่มๆ ไป 
งานปรู๊ฟหนังสือแบบรวมเหมาเป็นเล่มๆ นี้ ผมไม่ค่อยเจอน่ะ ทว่าเคยรับงานมาชิ้นหนึ่งแนววิชาการ
แต่ก็เคยมีบางสำนักพิมพ์ได้เสนอราคาเหมาๆ มาให้ (โคตรถูก...ไว้จะบอกในตอนหน้า) 
การคิดเหมานั้นต้องดูความยากง่ายและความหนาของเนื้อหาหนังสือด้วย รวมทั้งงานเร่งเสร็จหรือไม่
ผู้ว่าจ้างมีกำหนดเวลาให้ปรู๊ฟงานเท่าไหร่ ต้องการให้ตรวจกี่รอบ เราต้องไปรับและส่งงานเองไหม
โดยเรื่องราคาแบบเหมาก็อยู่ที่ทั้งสองฝ่ายต้องตกลงกันเอาเอง หากพอใจกันและกันก็รับทำไปโลด...
ซึ่งไม่แน่ว่าการรับงานพิสูจน์แบบเหมาเป็นเล่มอาจได้ค่าตอบแทนที่ดีกว่าแบบเป็นหน้าหรือยกก็ได้

2. คิดราคาเป็นหน้าๆ
บางแห่งก็มีมาตรฐานกำหนดราคาคิดให้เป็นหน้า ซึ่งคำว่า "หน้า" นั้นหมายถึงหน้าที่จัดรูปเล่มแล้ว
โดยขนาดกี่หน้ายกก็แล้วแต่ ไม่ว่าจะเป็น 16 หน้ายกพิเศษ หรือ 8 หน้ายกธรรมดา หรืออื่นๆ
ต้องตกลงราคากันให้ดีให้เข้าใจก่อนรับงาน เพราะค่าเพ่งจะคุ้มกับการถ่างตานั่งอ่านๆ ตรวจๆ หรือไม่
นึกภาพง่ายๆ... 16 หน้ายกก็คือพ็อกเก็ตบุ๊ค ส่วน 8 หน้ายกก็ไซส์นิตยสาร
Size หรือขนาดที่ต่างกัน ปริมาณตัวอักษรก็ย่อมต่างกันด้วย รวมถึงฟอนต์ที่ใช้อีก
แต่ถ้าเจองานที่มีรูปภาพประกอบเยอะๆ ตัวหนังสือน้อยๆ ก็ดีไป อ่านสบายๆ แป๊บๆ หมดหน้าแล้ว
สนนราคาค่าจ้างน่าจะตกอยู่ที่ หน้า ละ 10 - 30 บาท (ราคากว้างๆ กลมๆ นะ)
และแน่นอนว่า...ต้องเป็นหน้าที่จัดอาร์ตเวิร์กเสร็จสรรพพร้อม proof แล้วโดยแท้
ฉะนั้น การคิดราคาเป็นหน้าๆ นี้ไม่ยุ่งยากเลย หนังสือเล่มนั้นมีกี่หน้าก็เอาราคาคูณเข้าไป
เช่น หนังสือเรื่อง ค่าจ้างงานพิสูจน์อักษร จัดอาร์ตมาได้ 160 หน้า ผู้ว่าจ้างให้หน้าละ 20 บาท
ก็เอา 160 x 20 แล้วจะเป็นจำนวนเงินที่จะได้รับเหนาะๆ

3. คิดราคาเป็นยก 
ส่วนมากและส่วนใหญ่แล้วจะให้ค่าตอบแทนในการพิสูจน์อักษรเป็นยกๆ ไป
ต้องมาทำความเข้าใจเรื่อง "ยก" กันนิด อย่างเช่น
- 16 หน้ายกพิเศษ ก็หมายถึงว่า 1 ยก มี 16 หน้า
-  8 หน้ายกพิเศษ ก็หมายถึงว่า 1 ยก มี 8 หน้า
สมมติหนังสือเล่มหนึ่งขนาด 16 หน้ายกพิเศษ จัดหน้าแล้วได้ 160 หน้า ก็เท่ากับ "10 ยก" นั่นเอง
สนนราคาค่าปรู๊ฟน่าจะตกอยู่ที่ ยก ละ 100 - 500 บาท (ราคากว้างๆ กลมๆ นะ)
เช่น หนังสือเรื่อง ค่าจ้างงานพิสูจน์อักษร จัดอาร์ตมาได้ 10 ยก (160 หน้า) ผู้ว่าจ้างให้ยกละ 200 บาท
ก็เอา 10 x 200 แล้วจะเป็นจำนวนเงินที่จะได้รับเห็นๆ

อีกประเด็นที่ไม่ควรมองข้ามก็คือ งานแต่ละเล่มจะให้ ปรู๊ฟกี่รอบ!!! 
บางที่อาจแค่สองปรู๊ฟ บางแห่งก็สามปรู๊ฟ และอาจมีบางเจ้าขอปรู๊ฟ word 1 รอบ + artwork 2-3 รอบ
ไม่ต้องสงสัยเลยว่า...ยิ่งปรู๊ฟมากรอบเท่าไร ความผิดพลาดก็ย่อมลดน้อยลงเท่านั้น
อ่านหลายเที่ยว พิสูจน์อักษรหลายรอบ ทำให้สามารถเก็บตกและเห็นรายละเอียดได้มากขึ้น
แล้วก็ทำให้หนังสือเล่มนั้นๆ ผลิตเป็นรูปเล่มออกมาได้อย่างสมบูรณ์ถูกต้องที่สุด
ทำงานให้เสร็จๆ ไปนั้นไม่ยากหรอก ทว่าจะทำเช่นไรให้งานนั้นเสร็จและออกมาดีที่สุดด้วยนี่แหละ
ไม่ใช่ที่โน่นที่นั่นส่งงานมาให้ปรู๊ฟพร้อมๆ กันสามสี่ที่ก็รับไว้ทั้งหมด เพราะอยากได้เงินมากๆ
ขณะทุกที่ก็เร่งงานและมีกำหนดเวลาเสร็จใกล้เคียงกัน แถมเจอหนังสือเนื้อหายากๆ หนาๆ 
คงได้อ่านกันตาถลน อดตาหลับขับตานอน สมองเบลอ กระทั่งปรู๊ฟพลาด ปรู๊ฟหลุด...
ฉะนั้น ต้องคุยกับผู้ว่าจ้างให้ดี จัดสรรงานให้เหมาะ เรียงลำดับงานที่เร่งน้อย หรือเร่งมากที่สุดไว้ด้วย

หวังว่าบทความเรื่องนี้คงพอเป็นแนวทางเบื้องต้นสำหรับผู้ที่สนใจอยากทำงานอิสระด้านหนังสือได้บ้าง
ซึ่งการที่เราอยากกำหนด "ราคาค่าพิสูจน์อักษร" ด้วยมาตรฐาน ISO ของตัวเองนั้น...คงยาก
หากเราตั้งราคาปรู๊ฟไว้สูงลิบ โดยขอคิดเรทหน้าละ 50 บาท หรือยกละ 600 บาท แบบนี้
ทว่าทางผู้ว่าจ้างให้ได้แค่หน้าละ 20 บาท หรือยกละ 200 บาท เจอเช่นนี้เราจะรับงานไหมล่ะ?

ไว้บทความคราวหน้าค่อยมา เล่าไปเรื่อยเปื่อย กันต่อ...แบบไตรภาค

เชิญอ่านตอนสุดท้าย >> ค่าจ้างงานพิสูจน์อักษร Freelance จบ

.

14 มกราคม 2556

ค่าจ้างงานพิสูจน์อักษร Freelance 1

ผ่านไปอีกรอบและอีกปีสำหรับ "วันเด็กแห่งชาติ" พร้อมๆ กับคำขวัญที่อีกไม่ช้าก็ลืมเลือน
"รักษาวินัย ใฝ่เรียนรู้ เพิ่มพูนปัญญา นำพาไทยสู่อาเซียน"
คำขวัญวันเด็กดูเหมือนจะเป็นเพียงประโยคสวยหรูตามธรรมเนียมทุกๆ ปี
ขณะที่ในทางปฏิบัติ หรือการนำไปใช้นั้นกลับขาดประสิทธิภาพและไร้ความจริงจัง

วันเด็กผ่านไป...ขณะชีวิตวัยผู้ใหญ่ต้องอยู่ ต้องกิน ต้องขับถ่าย ต้องใช้ และก็ต้องหายใจต่อไป...
หากไม่มีงาน ไม่ทำงาน นั่งๆ นอนๆ งอมืองอเท้า แล้วจะมีเงินมาดำรงชีพหรือสร้างตัวได้ยังไง
ยิ่งเกิดเป็นคนจนข้นแค้น พ่อแม่แค่คนหาเช้ากินค่ำ ไม่มีสมบัติพัสถานหรือมรดกมหาศาลอันใด
ก็ยิ่งต้องขวนขวาย เผชิญสู้ ฝ่าฟันเพื่อสร้างฐานอนาคตไว้ยามชราภาพ หรือเพื่อลูกหลาน
วาสนาคนเราไม่เท่ากัน ขณะโชคชะตาก็แตกต่างกัน ชีวิตจึงมีชนชั้นและฐานันดร--

"ตอนนี้ทำงานอะไร?" เป็นคำถามที่ผมไม่รู้จะตอบเช่นไร หรือบอกกล่าวแจกแจงยังไง
ด้วยตัวเองนั้นสิ้นสภาพความเป็นมนุษย์เงินเดือนมาปีนิดๆ
โดยเหิมเกริมริปลดโซ่ตรวนจากการเป็นพนักงานประจำอย่างสิ้นเชิง
ทำนองว่า...ตอนนี้ชีวิตตรูอิสระเสรีแล้วเหวย เป็นเจ้านายของเวลาบ้างแล้วหวา
ไม่ต้องสะดุ้งตื่นแต่เช้าเพื่อรีบรุดกระวีกระวาดไปตอกบัตรให้ทันเวลาเข้าออฟฟิศ
ไม่ต้องยัดทะยานในรถไฟฟ้า แย่งเบียดเสียดในรถไฟใต้ดิน หรือห้อยโหนบนรถโดยสารประจำทาง
ทั้งไม่ต้องอะไรต่อมิอะไรให้วายวุ่นมากมายกับวิถีแห่ง "พนักงานประจำ" ในยุคมายานิยมและวัตถุนิยม

"ตอนนี้ทำงานอะไร?"
...ก็ทำงานอยู่กับห้อง นอนดึกตื่นสาย ยามมีงานก็ทำ ไม่มีงานส่งมาให้ทำก็จำต้องว่างพิรี้พิไร
บางทีก็ทำงานตอนกลางคืนยันดื่นดึก บางวันก็นอนอุตุแล้วตื่นบ่ายๆ ซึ่งแล้วแต่ว่างานนั้นๆ เร่งแค่ไหน
ด้วยบางครั้งอาจมีงานฟรีแลนซ์ส่งมาพร้อมๆ กัน เจ้านั้นก็เร่งจะปิดเล่ม...เจ้าโน้นก็จะเอาพรุ่งนี้...
ก็แหม...รับงาน บรรณาธิการอิสระ, บรรณาธิการฟรีแลนซ์ หรือ บรรณาธิการพาร์ทไทม์ นี่น่า
ทั้งยังรับงานอย่าง พิสูจน์อักษรฟรีแลนซ์ หรือ พิสูจน์อักษรพาร์ทไทม์ ด้วย
หรือเรียกให้โก้เก๋แลดูมีสง่าราศีสักหน่อยก็ทำงาน Outsource ครับ
จึงทำให้ยามที่มีงานส่งเข้ามานั้น ในฐานะฟรีแลนซ์ที่น่ารักก็ต้องจัดสรรเวลาทำงานให้ดี
เพราะอาชีพบรรณาธิการ หรือพิสูจน์อักษรนั้น มันเกี่ยวข้องกับตัวอักษร ภาษา ความรู้ และความเข้าใจ
คงไม่ใช่ทำแบบสุกเอาเผากิน หรือได้เห็นความผิดพลาดยามหนังสือตีพิมพ์เป็นเล่มแล้ว

วกมาเข้าเรื่องตรงประเด็นเกี่ยวกับ ราคาค่าจ้างงานพิสูจน์อักษร ฟรีแลนซ์ กันดีกว่า
ซึ่งผมขอบอกเล่าสนนราคาค่าจ้างอาชีพนี้แบบกว้างๆ ตามประสบการณ์จริงไม่อิงนิยายใดๆ

เมื่อผมตัดสินใจเต็มตัวว่าจะหางานอิสระเกี่ยวกับหนังสือทำนั้น...
สารภาพตามตรงเลยว่าไม่ได้คิดวางแผนชีวิตหรือกำหนดเป้าหมายอันใดเลย
ดุ่มๆ หางานฟรีแลนซ์โดยที่ไม่ได้เอาราคาค่าจ้างหรือเงินตอบแทนเป็นเรื่องหลักเพื่อได้งาน
คิดและฝันเพียงว่าขอให้มีงานเกี่ยวกับหนังสือหรือตัวอักษรส่งมาให้ทำเท่านั้น แบบโหยหาเฝ้าถวิล
ซึ่งเท่าที่สืบค้นหาข้อมูล "ราคาการจ้างงานปรู๊ฟฟรีแลนซ์" นั้น มักไม่มีกฎเกณฑ์ตายตัว
ด้วยปัจจัยหลายๆ อย่าง ทั้งผู้ว่าจ้างหรือสำนักพิมพ์ ทั้งเงื่อนไขในการทำงานของแต่ละที่...

ทีนี้...ก็มาค้น เคาะ แกะ ก่น และแบ่งปันบอกเล่าประสบการณ์ในอาชีพนี้กัน
ซึ่งผมจะพยายามเรียบเรียงและนำเสนอให้อ่านเข้าใจง่ายที่สุด (พยายามจริงๆ)
เริ่มแรก...ของวิชาชีพอิสระนามไพเราะว่า พิสูจน์อักษรฟรีแลนซ์ (Proofreader)
โดนลักษณะงานของผู้ว่าจ้างหรือให้งานมาทำนั้น จะมีอยู่ 2 แบบ
หนึ่ง ปรู๊ฟจากกระดาษหรืออาร์ตเวิร์กที่ปริ๊นมา
สอง ปรู๊ฟจากหน้าจอคอมพิวเตอร์ PC หรือโน้ตบุ๊ค
(ปัจจุบันอาจเริ่มมีการจ้างปรู๊ฟงานประเภท E-book บ้างแล้ว)


เชิญล้อมวงมาทำความรู้จักลักษณะงานปรู๊ฟหนังสือทั้งสองแบบ...แบบบ้านๆ กัน

- ปรู๊ฟจากกระดาษหรืออาร์ตเวิร์กที่ปริ๊นมา
เป็นงานพิสูจน์อักษรจากหน้ากระดาษ A4 ตามปกตินี่แหละ
ซึ่งแน่นอนว่าเป็นงานที่ฝ่ายศิลปกรรมหรือฝ่ายจัดรูปเล่มที่ได้ทำการโปรยจัดหน้าออกมาเสร็จสรรพ
จากนั้นก็ปริ๊นเป็นแผ่นๆ แล้วส่งมาให้ปรู๊ฟ (พิสูจน์อักษรฟรีแลนซ์) ซึ่งเท่าที่ผมรับงานแบบนี้มานั้น
ส่วนใหญ่ทางผู้ว่าจ้างจะให้แมสเซนเจอร์ควบมอเตอร์ไซค์คู่ชีพนำมาส่งให้ถึงที่ถึงห้อง
ทว่าบางแห่งก็ต้องเดินทางไปรับงานจากบริษัทที่ว่าจ้างในคราแรกเช่นกัน
เพราะอาจต้องมีการพูดคุยหรือทำความเข้าใจกับเนื้องานแต่ละเล่มๆ ให้ตรงกันก่อนเริ่มปฏิบัติงาน
หรือบางที่อาจต้องการให้เราเข้าไปช่วยปรู๊ฟที่บริษัท หรือสำนักพิมพ์ในวันที่ปิดเล่มก็มี

- ปรู๊ฟจากหน้าจอคอมพ์หรือโน้ตบุ๊ค 
ในยุคปัจจุบันนี้ บางบริษัท บางสำนักพิมพ์ ก็จะส่งงานมาทางอีเมลให้
ส่วนใหญ่ไม่ต้องพบเจอหน้ากัน คุยกันทาง MSN ทางเมล์ หรือทางโทรศัพท์เท่านั้น
ซึ่งผู้รับจ้างอย่างผมก็ต้องทำการโหลดไฟล์งานมาเก็บไว้เพื่อจัดการพิสูจน์อักษรให้ถูกต้อง
โดยงานปรู๊ฟจากหน้าจอนั้น...จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องมีความรู้เรื่องโปรแกรมดังนี้
* โปรแกรม word ฟังก์ชัน Track change
* โปรแกรม Adobe Acrobat Pro เพื่อแก้ไขไฟล์ pdf. ได้
บางที่อาจปรู๊ฟงานแค่โปรแกรมเวิร์ดเท่านั้น ซึ่งคงไม่ยุ่งยากเท่าไหร่นัก
ทว่าถ้าคิดอยากยึดอาชีพ พิสูจน์อักษรฟรีแลนซ์ จริงๆ จังๆ ก็จำเป็นต้องปรับตัวตามยุคเช่นกัน
มิเช่นนั้นแทนที่จะรับงานจากที่โน่นที่นี่ได้เพิ่มขึ้น ก็อาจมาติดขัดและอดงานเพราะใช้โปรแกรมบางอย่างไม่เป็น
ที่สุดแทนที่จะมีรายได้มากขึ้น หรือได้งานหลักๆ จากบางแห่งบางเจ้า ก็จะชวดอดไปแบบน่าเสียดาย

^^
ไว้ค่อยมาต่อคราวหน้าเนอะ...

ว่าเขาจ้างหรือให้ราคาค่าเหนื่อยในการปรู๊ฟหนังสือกันยังไง
ต้องทำใจว่าไม่มีราคาตายตัวแน่นอน ประเภทที่หวังเจอค่าปรู๊ฟสูงลิ่วๆ นั้นหายาก
หรือรับงานหนึ่งๆ มาแล้วเราจะพอใจอิ่มเอมกับรายได้ไปทุกๆ งานหรอก
แถมแต่ละที่ก็ให้ราคาไม่เหมือนกัน ไม่เท่ากัน ด้วยต่างก็มีมาตรฐานค่าจ้างกันอยู่แล้ว
เอาเป็นว่าคราวหน้าจะมาบอกกล่าวเล่าสู่กันต่อ...

ติดตาม >> ค่าจ้างงานพิสูจน์อักษร Freelance 2 ได้ ณ บัดนี้




7 มกราคม 2556

ดวงราศีมีนปีนี้

เดือนแรกของปี ๒๕๕๖ ได้ฤกษ์เบิกโพสต์สำหรับบล็อกเล่าไปเรื่อยเปื่อยซะที
ปีใหม่กับชีวิตที่ยังไม่รู้อนาคตว่าจะดำเนินไปเช่นไร จะดีหรือร้าย หรือจะทุกข์เคราะห์หนักกว่าปีที่แล้ว
คำตอบส่วนหนึ่งนั้นคงอยู่ที่ตัวเราเป็นผู้กำหนดเองด้วย มันสมองและสองมือคืออาวุธเบื้องต้น

ปีมะเส็ง หรือ 'มะเส็งเล่นน้ำ
ทางหลักโหราศาสตร์เรียกว่า "งูเห่าน้ำ"
ตามปกติผมไม่ค่อยชอบดูดวง ดูลายมือ
หรืออยากให้ใครมาทำนายทายทักเกี่ยวกับอนาคตของตัวเอง
แม้นไม่เชื่อนัก ทว่าก็ไม่คิดลบหลู่หมิ่นแคลนใดๆ 
บางทียังแวบอ่านๆ เรื่องดวงตามหนังสือพิมพ์บ้าง ตามเว็บบ้าง
อาจเพราะติดนิสัยมาแต่วัยเด็กที่พออ่านออกเขียนได้ 
แล้วผู้เฒ่าผู้แก่แถวบ้านชอบเอ่ยปากให้ช่วยอ่านดวงให้ฟัง
สมัยนั้นก็อ่านจากหนังสือพิมพ์ไทยรัฐกับเดลินิวส์ 
ยิ่งวันหวยออกยิ่งครึกครื้นเพราะจะได้เอาเลขดวงไปแทง...


เผอิญท่องเว็บไปเรื่อยเปื่อยแล้วพลันพบสกู๊ปของข่าวไทยรัฐออนไลน์เข้า
เห็นข่าวพาดว่า 'ปีมะเส็ง งูพ่นไฟ ผ่าดวง 2556...!' หมอดูไฮโซ ทศพร ศรีตุลา (หมอช้าง)
ก็อดใจไม่ไหวด้วยอยากรู้ดวงของตัวเองในปีนี้ว่าจะเป็นอย่างไร--?

ตัวผู้เขียนบล็อกนั้นเกิด ราศีมีน (Pisces) เป็นราศีสุดท้ายของจักราศี (Zodiac signs)
ธาตุน้ำ ดาวครองราศีคือดาวเนปจูน

ราศีมีน ผู้ที่เกิดระหว่างช่วงวันที่ 15 มีนาคม – 13 เมษายน 

การงาน
เกณฑ์การทำงานในปี 2556 จะมีความสบายใจมากขึ้น เพราะจะเป็นปีที่ได้พ้นเคราะห์พ้นโศกแล้ว
ปัญหาต่างๆ จะคลี่คลายไปในทิศทางที่ดีขึ้น ปีนี้จะได้รับความไว้วางใจจากผู้ใหญ่เจ้านายมากขึ้น
ได้รับมอบหมายให้ได้ดูแลงานสำคัญๆ สำหรับคนที่อยากจะลงทุนทำธุรกิจจะมีโอกาส
และได้รับความช่วยเหลือจนเป็นรูปเป็นร่าง ซึ่งอาจจะดูวุ่นวายไปบ้างในช่วงแรก
แต่สุดท้ายก็จะประสบความสำเร็จเป็นอย่างดี
รวมถึงคนที่อยากจะขยับขยายธุรกิจจะมีช่องทางให้เกิดรายได้ มีลูกค้าใหม่ๆ เข้ามาเพิ่มเติมตั้งแต่ต้นปี
อีกทั้งดวงในการติดต่อเจรจาจะราบรื่น แต่ถ้าผ่านพ้นช่วงกลางปีไปแล้ว
เกณฑ์ดวงในการทำงานจะถึงจุดเปลี่ยนอีกครั้ง มีแนวโน้มเกิดการเปลี่ยนแปลงกับสิ่งแวดล้อม
หรือนโยบายต่างๆ แต่ถ้าบางคนดวงแรง อาจจะถึงขั้นเปลี่ยนงานเปลี่ยนสถานที่กันเลยก็ได้
ยังไงก็วางแผนชีวิตเผื่อไว้ล่วงหน้าด้วยและบางช่วงบางเวลา ต้องขอเตือนให้ระวัง!
การตัดสินใจ อาจจะทำให้เกิดผลเสียต่อการทำงาน กลายเป็นความผิดพลาดตามมา
ดังนั้นเมื่อเรารู้ดวงล่วงหน้าคงต้องรีบหาทางแก้เคล็ดเสริมดวง หาทางแก้ไขรับมืออย่างมีสติ

การเงิน
ดวงการเงินแรง! และโดดเด่น ปี 2556 นี้มีเกณฑ์การเงินที่ดี
มีโอกาสได้รับเงินก้อนใหญ่ หรืออาจจะได้รับโอนที่ดิน ทรัพย์สินมรดก
สำหรับคนที่ทำธุรกิจลงทุนมีเกณฑ์จะได้กำไรผลตอบแทนที่ดีเข้ามาด้วยเช่นกัน
มีช่องทางในการค้าขายมากขึ้น เผลอๆ จะได้ยอดสั่งซื้อตามมาอีกเพียบ!
ดวงในปีนี้จะนำพารายได้ที่ดีเข้ามามากเป็นพิเศษ
แต่สิ่งที่ต้องระวัง คือการจับจ่ายใช้สอย ถ้าไม่มีสติในการใช้เงินอาจจะทำให้หมดไปได้รวดเร็วในพริบตา
เมื่อได้เงินมาก็ควรต้องแบ่งไปทำบุญบริจาคบ้าง หรือเก็บออมไว้บ้างเพื่ออนาคต
แต่สิ่งที่ต้องหลีกเลี่ยงคือการพนัน ปีนี้ดวงดาวไม่ส่งเสริมและอาจจะทำให้เกิดหนี้สินพัวพันตามมาได้อีก

ความรัก
ด้วยจังหวะดวงที่พ้นเคราะห์ไปแล้ว จะส่งเสริมให้คนโสดมีโอกาสได้พบได้เจอคนที่ถูกใจ
และได้สานต่อความสัมพันธ์ที่ดี มีเกณฑ์ที่จะได้รับความช่วยเหลือที่ดีจากเพื่อนฝูง
แนะนำคนดีคนใหม่ๆ ให้ได้รู้จักตั้งแต่ช่วงต้นๆ ปี
แต่อาจจะมีความแตกต่างกันในเรื่องการใช้ชีวิต หรือมีอายุที่ต่างกันเยอะพอสมควร
กระนั้นก็ไม่ใช่อุปสรรคปัญหาของความรัก ถ้ารับได้และมีความรู้สึกที่ดีต่อกันก็ถือว่าเป็นการเริ่มต้นที่ดี
แต่สำหรับหลายคนที่มีคู่มีแฟนแล้ว ต้องระวังปัญหาในการจัดสรรเวลา
ปีนี้อาจจะมีเวลาเจอกันน้อยลงจนบั่นทอนความสัมพันธ์ให้แย่ลง
โดยรวมแล้วสามารถปรับความเข้าใจกันได้ แต่คงต้องใช้เวลาง้องอนกันนานหน่อย
บางช่วงดวงจะแรงมากขึ้น ส่งผลให้คนรักกันอาจจะแรงใส่กันได้ทั้งคู่
ถ้าสามารถผ่านจุดนี้ไปได้...รับรองว่าปีนี้จะมีความสุขไม่แพ้ปีที่ผ่านมาแน่นอน

สุขภาพ
จังหวะดวงอยู่ในเกณฑ์ที่ดีขึ้น โดยเฉพาะคนที่เจ็บป่วยอยู่แล้ว
จะได้รับการรักษาที่ดี มีโอกาสหายจากโรคภัยต่างๆ
สำหรับดวงอุบัติเหตุยังคงต้องระวังอยู่ เพราะเกณฑ์ดวงแรง
อาจจะส่งผลให้เกิดการเจ็บเนื้อเจ็บตัวได้ง่ายๆ แนะนำการทำบุญไหว้พระ
ปล่อยสัตว์น้ำปล่อยปลาจะส่งเสริมดวงชะตาหนุนดวงได้ดีเป็นอย่างดีและจะช่วยผ่อนหนักให้เบา
เชื่อว่าปี 2556 จะเป็นปีที่จะมีสิ่งดีๆ เข้ามาให้เกิดความสุขสมหวัง

***

คงต้องใช้เวลาดูกันต่อไปว่าจะแม่นและตรงเพียงใด
โดยเฉพาะเรื่องการงานและการเงิน ขณะเรื่องความรักและสุขภาพก็น่าติดตามเช่นกัน
ส่วนราศีอื่นๆ ก็ลองไปค้นหากันดูตามอัธยาศัยแห่งปัจเจกกันเอง
ไม่เชื่อ...อย่าลบหลู่!

.